Design a site like this with WordPress.com
เริ่มได้

กำเนิดและความเสื่อมของศาสนาพุทธในอินเดีย

โดย C.H.

พวกอารยันที่เข้ามาในอินเดียทางเหนือ เดิมเป็นนักรบและนักต้อนสัตว์ที่กินเนื้อ พวกนี้เชื่อในเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ พอเขารับเทคโนโลจีการใช้เหล็กที่เริ่มแพร่หลายไปทั่วโลก เขาก็เริ่มเปลี่ยนไปทำการเกษตร และใช้ชีวิตมั่นคงในเมือง มีการแบ่งงานกันทำ ในเรื่องความเชื่อ ในเมื่อวัวกลายเป็นสัตว์สำคัญในการไถนาและขนส่ง มีการประดิษฐ์กฏทางศาสนาใหม่ที่ห้ามไม่ให้กินเนื้อวัวหรือฆ่าวัวในไม่ช้าการแบ่งงานกันทำตามชนชั้นวิวัฒนาการเป็นความเชื่อในวรรณะ โดยมี 4 วรรณะหลักคือ พราหมณ์ นักรบ เกษตรกร และผู้ใช้แรงงาน ต่อมาเมื่อสังคมพัฒนามีกลุ่มช่างฝีมือและพ่อค้าเกิดขึ้นด้วย และเนื่องจากการเรียนรู้ทักษะการทำงานมักจะทำกันในครอบครัว ระบบวรรณะจึงกลายเป็นสิ่งที่สืบทอดกันผ่านสายเลือด

      การค้าขายในอินเดียยุคนั้น ค้าขายกับทั้งตะวันออกและตะวันตก พร้อมกันนั้นมีการแลกเปลี่ยนเผยแพร่และพัฒนาปรัชญา ศาสนา และวิทยาศาสตร์ ในด้านวิทยาศาสตร์คนอินเดียวนำคณิตศาสตร์กรีกและโรมันมาพัฒนา เช่นมีการคำนวนมูลค่าของ π มีการค้นพบระบบทศนิยม และการใช้เลขศูนย์เป็นครั้งแรกเมื่อประมาณปี ค.ศ. 600 (พ.ศ. ๑๑๕๓) ในช่วงแรกๆ รัฐใหม่ที่เกิดขึ้นในอินเดียส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลจี มีการสร้างสังคมเมือง และมีอาชีพหลากหลายเกิดขึ้น ซึ่งในที่สุดนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ในสังคมเมืองเกิดความคิดใหม่ๆ และความขัดแย้งระหว่างชนชั้นต่างๆ ซึ่งมีผลทำให้มีกลุ่มศาสนาใหม่ๆ เกิดขึ้นมาซึ่งท้าทายศาสนาพราหมณ์เก่า หนึ่งในนั้นคือศาสนาพุทธ      ในตอนแรกศาสนาพุทธเชื่อว่าสงครามที่เคยมีบ่อยๆ เป็นเรื่องสิ้นเปลือง จึงมีการปฏิเสธ “ความรุนแรง” มีการต่อต้านระบบวรรณะและความเชื่อในเทพเจ้าที่รองรับระบบวรรณะ และมีการปฏิเสธเทพเจ้าพร้อมกับเน้นเหตุผลจนใกล้เคียงกับระบบคิดแบบ “วัตถุนิยม” นอกจากนี้มีการแลกเปลี่ยนความคิดแบบ “วิภาษวิธี” กับปรัชญากรีกแต่ในไม่ช้าความก้าวหน้าเริ่มชะลอตัว เพราะรัฐและระบบการปกครองทางชนชั้นกลายเป็นอุปสรรค์ต่อความสร้างสรรค์ และระบบขูดรีดของชนชั้นปกครองทำลายฐานะของคนธรรมดา ในที่สุดอาณาจักรรวมศูนย์ที่เคยมีก็แตกแยกกระจัดกระจาย ศาสนาพุทธเสื่อมและไม่เป็นที่นิยมเพราะไม่สอดคล้องกับสภาพใหม่ของสังคมอินเดีย ความหลากหลายของสังคมที่แตกแยกเป็นส่วนเล็กๆ เหมาะกับความเชื่อในเทพเจ้าที่หลากหลายแตกต่างกันของศาสนาฮินดูมากกว่า

***************

ถ้าเห็นด้วยกับแนวทาง “องค์กรสังคมนิยมแรงงาน” เชิญสมัครสมาชิก https://forms.gle/2apcTWX7sB9YCVhU6

Advertisement

ถ้าเห็นด้วยกับแนวทาง “องค์กรสังคมนิยมแรงงาน” เชิญสมัครสมาชิก

บทความอื่น ๆ 

Create a website or blog at WordPress.com