Design a site like this with WordPress.com
เริ่มได้

พลังมวลชนกลุ่มใดคือ “แนวต้าน” ที่เป็นคำตอบของชีเช็ก?

โจนาธาน มอว์นเดอร์ ร่วมเสวนาแนวคิดและข้อจำกัดของสลาวอย ชีเช็ก

แปลและเรียบเรียงโดย ไทโกะ ยูกิ คอลัมน์ บทความพิเศษ

รายงานบางส่วน นับแต่ปี 2009 และใส่ความเห็นตนเอง ประเด็นสำคัญของบทความใน SW คือ ซีเซ็กไม่ให้ความสำคัญกับกรรมาชีพ ไม่ชัดเจนเรื่องการแยกแยะระหว่างเลนินกับสตาลิน และไม่ให้ความสำคัญกับการสร้างพรรค เรารณรงค์และปลุกระดมในเรื่องสำคัญๆในโลกจริงทุกวันนี้ เช่นเรื่องเหยียดสีผิว ผู้ลี้ภัย ปัญหาแรงงาน โลกร้อน โควิดฯลฯ ไม่นั่งชักว่าวในหอคอยงาช้างเหมือนคนที่อ้างว่าทันสมัย หลังจากนั้นซีเซ็กออกมาแสดงท่าทีเหยียดมุสลิมและผู้ลี้ภัยท่ามกลางกระแสการโต้ตอบระหว่างขวากับซ้ายในโลกจริง มันเลือกอยู่ข้างพวกขวา แล้วยังมีเรื่อง Trump อีกด้วย

สลาวอย ชีเช็ก กลายเป็นที่สนใจของคนทั่วไปในแบบที่นักวิชาการหรือนักทฤษฎีน้อยคนจะสามารถทำได้ ตั้งแต่เขากล่าวปาฐกถาในหอประชุมที่แน่นขนัดไปด้วยผู้คนหลายแห่งทั่วโลก หรือถูกสัมภาษณ์ออกวิทยุช่อง BBC 4 เมื่อไม่นานมานี้ ไปจนถึงได้เแสดงในภาพยนตร์เกี่ยวกับแนวคิดของเขาเอง ทำให้เขากลายเป็นปัญญาชนที่มีความคิดสุดโต่ง แต่ก็เป็นที่นิยมของสาธารณะ

ชีเช็กได้รับความสนใจเพราะเขามีวาทศิลป์ สามารถผสมผสานทั้งหลักจิตวิทยา ทฤษฎีมาร์กซิสต์ มุขตลกและเสียดสีวัฒนธรรมร่วมสมัย เพื่อนำมาพูดถึงประเด็นต่างๆ ในสังคมได้ ความนิยมตัวเขามาจากการกล้าวิพากษ์วิจารณ์ระบบทุนนิยมอย่างไม่อ้อมค้อม ใช้คำพูดสละสลวยแต่ดุดัน เขายังคัดค้านแนวคิดเสรีนิยมและโพสต์โมเดิร์นอีกด้วย

ตัวอย่างเช่น แนวคิดศาสนาเชิงอนุรักษ์นิยมที่มีอิทธิพลต่อชนชั้นแรงงานในสหรัฐ มุมมองของกลุ่มเสรีนิยมจะมองว่า ศาสนาเป็นเรื่องงมงาย และคนที่เชื่อศาสนาอย่างงมงายก็คือคนที่ไร้การศึกษา หรือขี้เกียจ [เพราะเน้นการสวดอ้อนวอนพระเจ้ามากกว่าลงมือเปลี่ยนชีวิตตัวเอง – ผู้แปล] ส่วนมุมมองฝ่ายโพสต์โมเดิร์นจะมองว่า ศาสนาและความเชื่อทุกประเภทเป็นวิภาษวิธีเฉพาะกลุ่ม (คิดแบบแยกส่วน –ผู้แปล) ที่เราไม่สามารถเข้าไปตัดสินเชิงภววิสัยได้ว่าอะไรถูกอะไรผิด

แต่ชีเช็กบอกว่า ความเชื่อทางศาสนาเหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อปลอบประโลมจิตใจ จากความยากลำบากและไม่มั่นคงในชีวิตของชนชั้นแรงงาน  เขามองว่าศาสนาคือจิตวิญญานของชนชั้นที่คนสร้างขึ้นเพื่อปลอบใจตัวเอง  (มาร์คซ์ – ศาสนา คือหัวใจในโลกที่ไร้หัวใจ) แทนที่จะมุ่งเน้นไปที่การแก้สาเหตุของปัญหาที่แท้จริง ซึ่งก็คือระบบทุนนิยม ชีเช็กพยายามนำหลักจิตวิเคราะห์มาอธิบายว่าทำไมชนชั้นแรงงานจึงไม่มีจิตวิญญานแห่งการปฏิวัติ และพยายามหลีกเลี่ยงที่จะอ้างทฤษฎีว่าด้วย “ระบบชนชั้นได้ล่มสลายไปแล้ว” ของพวกเสรีนิยมและโพสต์โมเดิร์น

สำหรับชีเช็ก การต่อสู้ทางชนชั้นเป็นเครื่องแสดงว่าความเป็นจริงในสังคมไม่ได้มีเพียงด้านเดียว และแนวคิดของเขาก็สะท้อนอิทธิพลของนักจิตวิเคราะห์ ฌาคส์ ลาคาน ซึ่งเคยกล่าวว่า ความคิดเชิงสัญลักษณ์ที่มีอยู่ในจิตใต้สำนึก คือหลักฐานสำคัญของความเป็นมนุษย์ และโครงสร้างจิตวิทยาเชิงสัญลักษณ์นี้เอง เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสังคมมนุษย์ไว้ และสร้าง “ความเป็นจริง” เชิงสัญลักษณ์ออกมา แต่โครงสร้างนี้ไม่มีความเสถียร หรือสมบูรณ์ในตัวมันเองแต่อย่างใด ลาคานมองว่าจิตใต้สำนึกจะมีพื้นที่เหนือขอบเขตสัญลักษณ์ทั้งปวง ซึ่งเขาเรียกพื้นที่นี้ว่าตัวแทนของ “ความจริงในความจริง”

ชีเช็กต่อยอดแนวคิดนี้และกล่าวว่าการต่อสู้ทางชนชั้น คือ “ความจริงในความจริง” ของระบอบทุนนิยม ที่ไม่เคยยอมรับว่าการต่อสู้นี้มีอยู่จริงในเชิงสัญลักษณ์  แต่วลีนี้ยังไม่ได้มีการพัฒนาขอบเขตความหมายที่ชัดเจน ดังนั้นคำว่า “การต่อสู้ทางชนชั้น” จึงกลายเป็นเพียงฉลากที่นำไปผูกติดกับปัญหาทั่วไปในสังคม หรือความกระด้างกระเดื่องของประชาชนพลเมืองที่ไม่ใช่กลุ่มนายทุน ในงานเขียนของเขาที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ 

ชีเช็กเสนอ “แนวต้าน” ที่นักต่อต้านทุนนิยมควรนำไปปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นไปที่ปัญหาต่างๆ เช่น วิกฤติการณ์สิ่งแวดล้อม สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การดัดแปลงพันธุกรรม การแบ่งแยกและเหยียดประชากรทุกกลุ่มที่เกิดขึ้นในสังคมยุคปัจจุบัน เขายังชี้ว่า “คนชายขอบ” ที่ไม่ได้รับผลดีจากความก้าวหน้าของโลก เช่น กลุ่มชาวสลัมกลุ่มใหญ่ในซีกโลกใต้สามารถกลายเป็นมวลชนปฏิวัติที่มีพลังท่วมท้นได้ 

แต่แนวคิดนักมาร์ตซิสต์  [ International Socialist Tendency-IST ] ไม่เห็นด้วยกับชีเช็ก ทั้งหลักการต่างๆ ที่เขาเสนอ และกลุ่มมวลชนเป้าหมายที่เขาต้องการปลุกระดม เขาไม่ได้กล่าวถึงชนชั้นกรรมาชีพ หรือชนชั้นผู้ใช้แรงงานในฐานะกองหน้าการปฏิวัติ ซึ่งระบบทุนนิยมต้องพึ่งพาชนชั้นนี้ เพื่อการดำรงอยู่และขยายตัว ปัญหาใหญ่ของชีเช็ก คือไม่มีคำตอบว่าการเปลี่ยนแปลงโลกที่เขาพร่ำพูดและโพนทนา – จะดึงมวลชนจากที่ใด หรือมวลชนกลุ่มใด ที่มีส่วนได้เสียจากปัญหาในระบบทุนนิยมมากที่สุดมาเปลี่ยนแปลงสังคม 

การที่ชีเช็กเสนอแนวต้านสังคมด้วยการแสดงออกแบบแฝงเร้น เก็บงำบางเรื่องราวไว้และกระจัดกระจายอาจจะเป็นเสียงตอบรับของชีเช็กต่อเลนิน ที่เขาเคยเชิดชูว่าเลนินเป็นนักยุทธศาสตร์ปฏิวัติชั้นเลิศในสนามรบของการแย่งชิงอำนาจอันไร้เมตตาในระบบทุนนิยม แต่ชีเช็กมักอ้างเลนินเพียงบางส่วนจนทำให้เลนินกลายเป็นแค่นักรบคนหนึ่ง โดยที่ไม่สนใจอุดมการณ์ด้านทฤษฎีชนชั้น หรือการต่อสู้ปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นหัวใจหลักในการลุกสู้ของเลนิน ถึงแม้ว่าชีเช็กจะสามารถแยกแยะแนวคิดของเลนินกับสตาลินออกจากกันได้แต่ก็ไม่ได้อธิบายให้ชัดเจนในความแตกต่างนั้น

ชีเช็กอ้างว่า การที่สตาลินบังคับเกษตรกรมาทำการเกษตรร่วมในปี 1929 [ การรวมตัวของเกษตรกรมาทำเรือกสวนไร่นาร่วมกันในพื้นที่เดียวแบบนารวม โดยรัฐมีสิทธิในผลผลิตแทบทั้งหมดและบังคับแจกจ่ายผลผลิตโดยรัฐ คล้ายอุตสาหกรรมเกษตร ] เป็น “นโยบายที่สอดคล้องกับการปฏิวัติรัสเซียในปี 1917 ” ไม่ใช่การล่มสลายของการปฏิวัติ หรือการเปลี่ยนแปลงระบอบไปสู่ทุนนิยมโดยรัฐแต่ประการใด

สำหรับเลนิน ยุทธศาสตร์การปฏิวัติหาใช่จุดจบของการต่อสู้ หากแต่เป็นการที่ชนชั้นผู้ใช้แรงงานจะมีความมั่นใจเพียงพอที่จะลุกขึ้นสู้เพื่อผลประโยชน์ของตน ซึ่งการสร้างกลุ่มปฏิวัติโดยแรงงานต้องกระทำอย่างระมัดระวัง ทฤษฎีของมาร์คซ์จะเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงโลกได้ ผู้นำการปฏิวัติจะต้องอยู่เคียงข้างผู้ใช้แรงงานท่ามกลางการต่อสู้ทางชนชั้นในสถานการณ์จริง เพื่อให้แนวคิดทฤษฎีและการปฏิบัติดำเนินไปโดยเกื้อหนุนกันเพื่อสร้างพลังการปฏิวัติ

ชนชั้นกรรมาชีพ คือเป้าหมายหลักของการปลุกระดมจัดตั้งที่จะทำให้การแก้ปัญหาต่างๆ [ที่ชีเช็กพยายามเรียกร้อง – ผู้แปล] สัมฤทธิ์ผล ในเวลาที่โลกเรียกร้องทางเลือกใหม่ที่ไม่ใช่ระบบทุนนิยม เราต้องตอบรับเสียงเรียกร้องเหล่านั้น ด้วยคำตอบที่สอดคล้องกับความคาดหวังของ คาร์ล มาร์คซ์

“นักปราชญ์ทำได้เพียงตีความโลกในมุมมองใหม่ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือนักมาร์คซิสต์เราจะต้องเปลี่ยนแปลงโลก

ที่มา: What force can solve Zizek’s antagonism?

*****************

ถ้าเห็นด้วยกับแนวทาง “องค์กรสังคมนิยมแรงงาน” เชิญสมัครสมาชิก https://forms.gle/2apcTWX7sB9YCVhU6

Advertisement

ถ้าเห็นด้วยกับแนวทาง “องค์กรสังคมนิยมแรงงาน” เชิญสมัครสมาชิก

บทความอื่น ๆ 

Create a website or blog at WordPress.com