โดย กองบรรณาธิการ
สูตรทั่วไปของทุน
เงื่อนไขของการกำเนิดทุน คือการค้าขายและการหมุนเวียนของสินค้า “เงิน” กับ “ทุน” ต่างกันอย่างไร? ต่างกันตรงระบบหมุนเวียน ระบบหมุนเวียนมีสองชนิดคือ C-M-C กับ M-C-M ( M=เงินหรือทุน C=สินค้า )
หนึ่ง C-M-C เป็นการผลิตของนักหัตกรรม ผลิตเพื่อขาย ได้เงินมาเพื่อซื้อสินค้ามาใช้ มันมีจุดจบคือการใช้มูลค่าใช้สอยที่ซื้อมาด้วยเงิน เงินนี้ไม่ถือว่าเป็น “ทุน”
สอง M-C-M ไม่มีจุดจบ เป็นกระบวนการสะสมเคลื่อนไหวต่อเนื่อง ลงทุนด้วยเงิน เพื่อผลิต เพื่อขาย เพื่อสะสมทุนต่อ เงินที่เป็นทุนแบบนี้เพิ่มมูลค่าผ่านการหมุนเวียน มูลค่าที่เพิ่มขึ้นเรียกว่า “มูลค่าส่วนเกิน” ซึ่งมาจากการทำงาน เป้าหมายของนายทุนไม่ใช่การได้มูลค่าใช้สอยมา แต่เป้าหมายคือกำไร
เงิน/ทุนแปรร่างเป็นสินค้า สินค้าแปรร่างเป็นเงิน/ทุน มันมีทั้งความขัดแย้งเปลี่ยนแปลงตลอด เพราะ “ทุน” เป็นทั้ง “เงิน” และ “สินค้า” ได้ และเรามีความจำเป็นที่จะมองภาพรวมของสิ่งนี้ – เป็นองค์รวมเสมอ
ความขัดแย้งในสูตรทั่วไป
มาร์คซ์พิสูจน์ไปแล้วว่ามูลค่าและมูลค่าส่วนเกินไม่ได้มาจากการแลกเปลี่ยนในตลาด (เหมือนที่นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักอ้าง)
-ผู้ที่เชื่อว่าเกิดจากการแลกเปลี่ยน สับสนระหว่าง “มูลค่าใช้สอย” กับ “มูลค่าแลกเปลี่ยน” (บางสิ่งที่เป็นประโยชน์ในการใช้สอย เช่นอากาศ ไม่มีมูลค่าแลกเปลี่ยน-กองบรรณาธิการ)
-สินค้าย่อมมาสู่ตลาด โดยมีมูลค่าแลกเปลี่ยนอยู่ในตัวล่วงหน้า แล้วพอถึงตลาดจะมีการแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่นตามสัดส่วนของมูลค่านั้น แต่ “ราคา” อาจขึ้นลง เหนือหรือต่ำกว่ามูลค่าแลกเปลี่ยนนี้ได้บ้างเล็กน้อย
-มนุษย์เป็นทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่มีใครเป็นผู้ซื้อฝ่ายเดียว เพราะนอกจากการปล้นธนาคารแล้วจะเอาเงินที่ไหนมาซื้อของ? ต้องมาจากการขายพลังการทำงาน
-ผู้ที่ขายสินค้าในราคาสูงกว่ามูลค่าแลกเปลี่ยน ไม่ได้เพิ่มมูลค่าของสินค้านั้นเลย เป็นเพียงการเอาเปรียบและย้ายสัดส่วนมูลค่าจากคนอื่นมาสู่ตัวเองเท่านั้น
การซื้อขาย “พลังการทำงาน”
การเพิ่มมูลค่าของทุน เกิดจากตัวเงินทุนเองไม่ได้ เงินเป็นเพียงค่าเปรียบเทียบระหว่างสินค้า
เงื่อนไขที่ต้องมีเพื่อให้เกิดการขายพลังการทำงานโดยกรรมาชีพคือ
1.ต้องมีแรงงานเสรี พร้อมจะขายพลังการทำงานในเวลาจำกัด
2.ผู้ขายต้องไม่สามารถขายสินค้าที่ตนเองผลิตเองได้ เพราะไม่มีปัจจัยการผลิต(เครื่องจักร,วัตถุดิบฯลฯ)
แต่ธรรมชาติไม่ได้ก่อให้เกิดนายทุน กับผู้ไร้ปัจจัยการผลิตแต่อย่างใด และทุนนิยมคือระบบแรกที่
•การผลิตส่วนใหญ่นำไปสู่สินค้า (แทนการบริโภคเอง)
•มีการแยกมนุษย์ระหว่างนายทุนกับผู้ไร้ปัจจัยการผลิต
มูลค่าของสินค้าที่กรรมาชีพขายให้นายทุน หรือ “พลังการทำงาน” = ปริมาณแรงงานเพื่อผลิตมูลค่าเพียงพอสำหรับการเลี้ยงชีพ และผลิตซ้ำคนงานกับลูกหลาน
•ระดับสิ่งของที่จำเป็นสำหรับการเลี้ยงชีพ เปลี่ยนตามยุคสมัย เป็นผลของประวัติศาสตร์และสังคม
ที่มา ว่าด้วยทุน เล่ม 1 ภาค 2 บทที่ 4-6
****************
ถ้าเห็นด้วยกับแนวทาง “องค์กรสังคมนิยมแรงงาน” เชิญสมัครสมาชิก https://forms.gle/2apcTWX7sB9YCVhU6