แปลโดย โปรตอน
ขณะที่มหาเศรษฐีบางคนกำลังใช้จ่ายเงินหลายพันล้านปอนด์เพื่อเป็น ‘เจ้าของ’ งานศิลปะดิจิตอลผ่าน ‘เหรียญที่ไม่สามารถทดแทนได้’ ชาลี คิมเบอร์ชวนข้ามผ่านเรื่องเหลวไหลเหล่านี้
กลเม็ดเล่ห์เหลี่ยมทางการเงินของนายทุนได้ทำนิวโลว์ด้วยการพัฒนา NFT หรือ “non-fungible tokens” มันเกี่ยวข้องกับการเทรดบางสิ่งบางอย่างที่ไม่มีอยู่จริง เพียงแต่โดยหลักแล้วมันสามารถทำกำไรได้
NFT คือหน่วยของข้อมูลหรือเหรียญที่เก็บอยู่บนบล็อกเชน ซึ่งแตกต่างจากเหรียญคลิปโตอื่นๆ เช่นบิทคอยหรือเงินทั่วไป ทั้งนี้ 1 NFT ไม่สามารถเทรดหรือแลกเปลี่ยนด้วย NFT อิ่นๆ รวมถึงเหรียญ NFT เหล่านั้นไม่สามารถผลิตซ้ำได้
NFT สามารถใช้แทนสินทรัพย์ รวมถึงยังสามารถบอกได้ว่าผลิตขึ้นที่ใดและใครเป็นผู้ผลิต NFT จึงมักถูกใช้ประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกลุ่มงานศิลปะ งาน NFT ชื่อ “Everydays: The First 5000 Days” ซึ่งผลิตโดยศิลปินศิลปะดิจิตอลนาม Beeple ได้รับการประมูลในราคา 50 ล้านปอนด์ ณ บริษัทประมูลคริสตีส์ เมื่อกลางปีที่ผ่านมา (2021) แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าผู้ซื้อสะสมชิ้นงานศิลปะ สิ่งที่ถูกขายออกไปคือ 1 บล็อกเชน ที่แสดงให้เห็นว่ามันได้ขายออกไปแล้ว นักเศรษฐศาสตร์มาร์กซ์ซิส ไมเคิล โรเบิร์ต ตั้งคำถามว่า “ดังนั้นแล้ว ความสำคัญของมันคืออะไร? คำตอบคือไม่มีเลย มันเป็นแค่กระแสชั่วขณะ และผู้ซื้อก็หวังว่ามันจะขายได้กำไร
NFT ยังได้เปิดเผยถึงตลาดงานศิลปะที่มีฐานเพียงอย่างเดียวคือตั้งอยู่บนพลังดึงดูดของกระแสเงินสดส่วนเกิน เพราะ NFT จะมีมูลค่าเมื่อมันขายออกได้ในราคาที่สูงกว่าเดิม NFT ไม่ได้อวดอ้างมูลค่าศิลปะแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ศิลปินบางคนมองเห็น NFT เป็นดั่งการปลดปล่อย ที่เปิดความเป็นไปได้ของการขายงานออนไลน์
เมื่อวิเคราะห์ถึงคอนเซ็ป ศิลปินคนหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม White Male Artist (WMA) ได้ทำการตลาดด้วยโปรเจ็ก $HT Coin โปรเจ็กนี้เกี่ยวกับการขายกระป๋อง 30 g ซึ่งบรรจุของเสียของตัวศิลปิน ตลอดเดือนกรกฎาคม
ราคาของชิ้นงานไม่ห่างกับราคาทองคำขนาด 30 กรัม!
กระป๋องแต่ละอันถูกประมูลออกบน NFT รวมถึงรูปแบบของจริง (ซึ่งคุณอาจชอบงานบน NFT มากกว่า)
ในบทสัมภาษณ์กับนิตยสารฟอบส์ WMA กล่าวว่า “NFT ได้แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมการบริโภคอย่างล้นเกิน เมื่อไหร่กันถึงเราจะเรียกความละโมบอย่างตระกละว่ามากเกินไปได้เสียที?”
“เราขุดทองจากผืนดินของเรา เราปล่อยมลพิษลงทะเลของเรา” แทนที่เราจะกลับมาประเมินค่าของความสัมพันธ์ของพวกเราต่อโลก หรือเลือกเดินไปข้างหน้าอย่างพอประมาณ หรือเคารพ หรือเอาใจใส่โลกมากขึ้น แต่เรากลับคิดค้นความขาดแคลนทางดิจิทัล การครอบงำโดนตัณหาของพวกต่อต้านสังคมของพวกเรายังคงดำเนินการต่อไปอย่างไม่อาจหยุดยั้งได้”
NFT เป็นเสมือนสิ่งที่คาล์ล มาร์กซ์เรียกว่า “ทุนมายา” (เช่นหุ้น) เมื่อตลาดหุ้นแตก ผู้ถือหุ้นจำนวนมากอาจกรีดร้อง แต่โรงงานและเครื่องจักรของบริษัทในโลกจริงที่พวกเขาซื้อหุ้นนั้นไม่หายไปไหน
ปัจจุบันระบบทุนนิยมท่วมท้นไปด้วยเครื่องมือทางการเงินมากมายที่มีขนาดและความซับซ้อนน่าเวียนหัว ข้อมูลล่าสุดจากธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ (Bank for International Settlements) เกี่ยวกับ การซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ (ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการเก็งกำไรในทุนมายา) มีมูลค่าประมาณ 425 ล้านล้านปอนด์ นั่นคือเจ็ดเท่าของมูลค่าสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตในโลกในปีที่ไม่เกิดโรคระบาด
เครื่องมือการลงทุนต่างๆ และผลกำไรที่ได้จากเครื่องมือนั้น มักเป็นสิ่งที่น่าดึงดูดเป็นพิเศษสำหรับนายทุน เมื่อการลงทุนในการผลิตจริงไม่สามารถให้ผลตอบแทนเพียงพอ
ดังที่มาร์กซ์กล่าวไว้ “หากอัตรากำไรลดลง เราก็จะมีการหลอกลวงและการส่งเสริมการหลอกลวงโดยทั่วๆ ไปเป็นธรรมดา ด้วยความพยายามอย่างยิ่งยวดในการแสวงหาเครื่องการผลิตใหม่ๆ เครื่องมือการลงทุนใหม่ๆ และการเก็งกำไรใหม่ๆ เพื่อให้ได้กำไรก้อนงาม”
มาร์กซ์เสริมว่าในโลกของการเงิน “การเคลื่อนไหวและการถ่ายโอนของมันเป็นผลมาจากการพนันในตลาดหลักทรัพย์ที่ปลาตัวเล็ก ๆ ถูกฉลามกลืน และลูกแกะถูกกินโดยหมาป่าของตลาดหลักทรัพย์”
แปลจาก What’s the real value behind the rich’s NFT digital art fad? ใน https://socialistworker.co.uk
*************************
ถ้าเห็นด้วยกับแนวทาง “องค์กรสังคมนิยมแรงงาน” เชิญสมัครสมาชิก https://forms.gle/2apcTWX7sB9YCVhU6