Design a site like this with WordPress.com
เริ่มได้

การผันเปลี่ยนของระบบแรงงานในปัจจุบัน

โดย สหายเข็มหมุด

เราเห็นร่วมกันว่า แรงงานนั้นเป็นกำลังผลิตที่สำคัญของสังคม ไม่ว่าจะแรงงานข้ามชาติ หรือแรงงานในประเทศนั้นๆ โดยเมื่อก่อนส่วนใหญ่ แรงงานมักผลิตกันในโรงงานอุตสาหกรรม การก่อสร้าง แต่ว่าในปัจจุบันการจ้างงานเปลี่ยนแปลงไป งานไม่ได้แค่อยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม แต่ยังแทรกเข้าไปในส่วนของสังคมด้วย เช่นการจ้างงานแบบยืดหยุ่น outsource เหมาช่วง ฟรีแลนซ์ ศิลปิน นักเขียน content writer บลาๆ ทำให้แรงงานไม่จำเป็นต้องอยู่ในโรงงาน หรือมีระยะทำงานแค่ 7-8 ชม อีกต่อไป กล่าวคือ สามารถทำงานเวลาไหนก็ได้ เส้นชีวิตประจำวันกับการทำงานเลือนลางคาบเกี่ยวกันมากขึ้น ซึ่งนอกจากกฎหมายที่กดปราบการเกิดสหภาพ และการรวมตัวกันของชนชั้นแรงงาน เพื่อสร้างข้อเรียกร้องต่อรองต่างๆ การเปลี่ยนแปลงการจ้างงานแบบนี้ก็กัดเซราะสำนึกทางชนชั้นด้วย

กล่าวในเชิงทฤษฎีคือ การเปลี่ยนรูปแบบการผลิตจาก Fordism หรือ การมองแรงงานผ่านระบบสายพานการผลิต ซึ่งเน้นการผลิตวัตถุ เช่น ปลากระป๋อง ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ กางเกงเสื้อผ้า มาเป็นการผลิตเชิงอวัตถุ หรือเรียกว่ายุค Post-Fordism หรือระบบหลังสายพานการผลิต คือการเปลี่ยนจากโครงสร้างองค์กรการผลิตภายใต้ระบบโรงงานมาสู่การผลิตแบบใหม่ที่มีความยืดหยุ่น ซึ่งส่งผลต่อการจ้างงานอย่างสําคัญ เช่น พาร์ททาร์ม ฟูลทาร์ม จ้างงานชั่วคราว โดยเมื่อสำนึกทางชนชั้นถูกทำลาย เราจะเริ่มบูชาความเป็นปัจเจก และเกิดวัฒนธรรมแข่งกัน productive มากขึ้น แต่ล่ะคนต่างก็ต้อง productive ทำงานหนัก หรือขูดรีดตัวเอง กลายเป็นสิ่งที่สังคมเชิดชู ซึ่งจะทำให้เกิด mental illness มากขึ้น ความเศร้า ความกดดันจากทั้งสังคม และการโทษตัวเอง มีโอกาสเกิดโรคซึมเศร้าสูง

ซึ่ง เดวิด เกรเบอร์ ได้ออกหนังสือ เกี่ยวกับ bullshit job เอาไว้ ไปตามหาอ่านได้ โดย Bullshit Job คือ รูปแบบหนึ่งของการจ้างงานที่ไร้จุดหมาย ไม่มีความจำเป็น ไม่ได้สร้างคุณค่าอะไรให้สังคมหรือแม้แต่ตัวเอง แต่เราทำงานนั้นเพราะมันได้เงินดี หรือไม่มีตัวเลือก เช่น งานเอกสาร ส่วน Shit Job คือ งานที่ต้องใช้แรงใช้พลังอย่างหนักหนาสาหัส หรืองานที่คนทำเองไม่ได้มีความสุขกับมันนัก แต่ก็ยังรับรู้ถึงประโยชน์ของมันบ้าง เช่น ล้างห้องน้ำ ดูแลผู้สูงอายุ เหนื่อยแต่ก็ยังรู้สึกว่ามีประโยชน์กับผู้อื่น โดย Bullshit Job ปรากฏให้เห็นอย่างมากในระบบทุนนิยมปัจจุบัน ไม่ได้รีดเค้นประสิทธิภาพของบุคคลนั้นๆ แต่แค่สร้างงานให้คนก็พอ

กลับมาที่เมื่อแรงงานอยู่นอกโรงงานมากขึ้น ในหนังสือ Autonomia ที่เก่งกิจแปล กล่าวว่า มันจะทำให้องค์ประกอบทางชนชั้นในทางการเมืองของแรงงานเปลี่ยนแปลงไป แรงงานส่วนใหญ่ที่ผลิตสร้างมูลค่าในสังคม กลายมาเป็น แรงงานสังคม (socialized worker) ทำให้การต่อสู้ทางชนชั้นไม่ได้อยู่แค่ในโรงงาน แต่ทั่วทั้งสังคมที่มีการผลิตมูลค่า แรงงานกลับไม่พึ่งพิงทุน แต่ทุนกลับยิ่งพึ่งพิงแรงงานมากขึ้น เพราะทุนถูกผลักให้ออกนอกกระบวนการผลิตเรื่อยๆ สิ่งที่มันจะทำคือ การสั่งการ จากภายนอกผ่านกลไกการใช้ความรุนแรงจากรัฐ กลไกเศรษฐกิจใหม่ๆ เมื่อแรงงานและชีวิตมนุษย์กลายเป็นใจกลางของการผลิต Tronti จึงได้เสนอยุทธศาสตร์ การปฎิเสธงาน คือปฎิเสธโครงสร้างทั้งหมดของทุนในคราวเดียว เพราะโซ่ตรวนเดียวที่ล่ามแรงงาน คือ การควบคุมสังคมทั้งสังคมจากบนลงล่างของทุนและรัฐเผด็จการทุนนิยม

*****************************

ถ้าเห็นด้วยกับแนวทาง “องค์กรสังคมนิยมแรงงาน” เชิญสมัครสมาชิก https://forms.gle/2apcTWX7sB9YCVhU6


Advertisement

ถ้าเห็นด้วยกับแนวทาง “องค์กรสังคมนิยมแรงงาน” เชิญสมัครสมาชิก

บทความอื่น ๆ 

Create a website or blog at WordPress.com