โดย กองบรรณาธิการ
“เวลากรรมาชีพเลิกทำงาน เขาจึงเป็นเจ้าของเวลาของตนเองอย่างแท้จริง”
“นายทุนคือแค่ ทุน ในร่างมนุษย์ วิญญาณเขาคือวิญญาณของ ทุน แต่วิญญาณของทุน ต้องการเพิ่มมูลค่าให้ตนเองเสมอผ่านการสะสมมูลค่าส่วนเกิน”
“ทุน คือแรงงานในอดีต ซึ่งเป็นปีศาจดูดเลือดจากแรงงานที่มีชีวิตในปัจจุบัน ยิ่งมันดูดเลือดมากแค่ไหน มันยิ่งเจริญเท่านั้น”
นายทุนต้องการขยายเวลาทำงานต่อวัน (โดยจ่ายแค่ค่าจ้างพื้นฐานพอยังชีพ) เพื่อขยายมูลค่าส่วนเกิน/กำไร
- ในยุคแรกๆ ของทุนนิยม มีการออกกฎหมายบังคับการขยายเวลาทำงาน
- แต่การขยายเวลาทำงานขยายเกิน 24 ช.ม. ต่อวันไม่ได้! และถ้าคนงานไม่ได้พักผ่อนก็จะตาย ทำงานต่อไม่ได้
- ระบบการทำงานกะ เพื่อให้เครื่องจักรเดิน 24 ช.ม. ถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มความคุ้มในการซื้อเครื่องจักร
- การกำหนดชั่วโมงการทำงานเป็นสมรภูมิรบทางชนชั้นระหว่างนายทุนกับกรรมาชีพ เรื่องนี้ในที่สุดใช้เหตุผลและปัญญาในการต่อรองไม่ได้ ต้องใช้กำลัง มาร์คซ์เล่าถึงการต่อสู้ของคนงานอังกฤษในศตวรรษที่ 19 เพื่อลดเวลาทำงาน ซึ่งมีผลดีต่อเนื่องไปสู่คนงานยุโรปและสหรัฐ (ในกรณีสหรัฐ มาร์คซ์เสนอว่าคนงานสหรัฐไม่สามารถสู้เต็มที่เพื่อผลประโยชน์ตนเองตราบใดที่แรงงานผิวดำยังมีอยู่ในระบบทาส เพราะทำให้จิตสำนึกคนงานผิวขาวอ่อนแอ)
- การเพิ่มเวลาว่าง ลดเวลาทำงาน มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาชีวิตมนุษย์อย่างรอบด้าน ทั้งกายและใจ ในสังคมที่เน้นมูลค่าใช้สอยเหนือมูลค่าแลกเปลี่ยน (สังคมนิยม) เรื่องนี้จะแก้ได้
- ดูเหมือนว่าในระยะยาวการลดชั่วโมงการทำงานจะเป็นประโยชน์ต่อนายทุน เพราะทำให้ลูกจ้างพัฒนา แต่ในบริบทของการแข่งขันระหว่างนายทุนกันเองเพื่อกำไร นายทุนจะยอมลดชั่วโมงการทำงานต่อเมื่อมีการต่อสู้กดดันของกรรมาชีพผ่านการกดดันรัฐให้เข้ามาจัดการ เพื่อให้นายทุนทุกคนใช้มาตรฐานเดียวกัน (เรื่องนี้คล้ายปัญหาโลกร้อน การแก้ปัญหานี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อนายทุนด้วย แต่นายทุนไม่ยอมทำอะไรเพราะมัวแต่แข่งกันเอง ต้องมีอำนาจอื่นในสังคมมากดดัน-กอง บก.)
“ในการปั่นหุ้นเล่นหุ้นทุกครั้ง ทุกคนรู้ดีว่าฟองสบู่จะแตกในที่สุด แต่ทุกคนภาวนาว่าจะแตกหลังจากที่ตนเองขายหุ้น ได้กำไร และถอนทุนไปแล้ว”
“สัญญาการจ้างงานระหว่างกรรมาชีพและนายทุน ดูเหมือนว่าเป็นสัญญาระหว่างคนอิสระที่เท่าเทียมกันสองฝ่ายในเงื่อนไขความสมัครใจ แต่พอตกลงกันเรียบร้อยไปแล้ว กรรมาชีพพบว่าตนเองถูกบังคับให้ขายพลังการทำงานตามเวลาที่นายทุนกำหนดและบังคับ”
************************
**ถ้าเห็นด้วยกับแนวทาง “องค์กรสังคมนิยมแรงงาน” เชิญสมัครสมาชิก https://forms.gle/2apcTWX7sB9YCVhU6