Design a site like this with WordPress.com
เริ่มได้

โลกกรรมาชีพหลังโควิด

โดย สมทรง ตรีแก้ว

การแพร่ระบาดไข้หวัดโควิด-19 ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก บางครอบครัวต้องสูญเสียคนในครอบครัวมากกว่า 1 คน เด็กๆ หลายคนต้องกำพร้าพ่อ-แม่ไปในคราวเดียวกัน ขณะที่กรรมาชีพจำนวนมากต้องสูญเสียบิดามารดา องค์การอนามัยโลก เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดไข้หวัดโควิด-19 ครั้งนี้ ยอดผู้เสียชีวิตที่แท้จริงใน 191 ประเทศในช่วงระหว่างต้นปี 2563 ถึงปลายปี 2564 อาจจะมีจำนวนที่สูงถึง 18 ล้านคนทั่วโลก ส่วนตัวเลขผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการทั่วโลกมีจำนวน 6,268,281 คน

สำหรับประเทศไทยสถานการณ์ตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึง วันที่ 21พฤษภาคม 2565 มีผู้เสียชีวิตถึง 16,620 คน นอกจากตัวเลขคนตายแล้ว ตัวเลขของคนว่างงานก็มีจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะคนงานในภาคบริการ การค้า ต้องสูญเสียงานเป็นจำนวนมากเนื่องจากผู้คนไม่สามารถเดินทาง เพราะรัฐบาลสั่งปิดประเทศห้ามคนเข้า-ออก และสั่งปิดสถานที่ทำงานบางกิจการ ส่งผลให้นายจ้างเลิกจ้างคนจ้างหรือต้องเลิกจ้างไปโดยปริยายเพราะนายจ้างปิดกิจการ ส่วนที่ยังมีงานอยู่ก็ถูกลดเงินเดือนไปเป็นจำนวนมากโดยอ้างว่าไม่มีกระแสเงินสด (ทั้งๆ ที่ก่อนเกิดวิกฤตคนงานสร้างกำไรให้แก่นายทุนเจ้าของกิจการอย่างมากมายมหาศาลเป็นเวลาหลายสิบปี แต่พอเจอวิกฤตกลับอ้างว่าไม่มีแม้กระทั่งรายได้เข้ามาโดยที่ไม่พูดถึงกำไรที่ผ่านมา!!!) แต่ในขณะเดียวกันรายจ่ายของประชาชนคนงานยังเท่าเดิมและมีแต่จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากรัฐไม่มีระบบการจัดการช่วยประชาชนในด้านต่างๆ เช่น ประชาชนยังต้องซื้อหน้ากากอนามัย ซื้อชุดตรวจเอทีเคด้วยเงินของตนเอง ทั้งๆ ที่ควรเป็นสวัสดิการที่รัฐต้องจัดให้ฟรี

สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่า สถานการณ์การว่างงานไทย ไตรมาส 4 ปี 2564 พบตัวเลขน่าตกใจคือคนว่างงานระยะยาวเกิน 1 ปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนในวัยทำงาน อายุระหว่าง 15 – 30 ปี ส่วนสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติสำรวจข้อมูลการว่างงานพบว่า ในปี 2564 ไทยมีอัตราการว่างงานจำนวนร้อยละ 1.93 และเมื่อหันมาพิจารณารูปแบบการจ้างงานในสถานการณ์โควิดและหลังโควิดเบาบางลง เราจะพบว่า พวกนายทุนทั้งหลายต่างฉวยโอกาสเปลี่ยนโครงสร้างการจ้างงาน วิธีการจ้างงานคนงาน ซึ่งการจ้างงานในรูปแบบปัจจุบันนี้จะมีตั้งแต่เลือกจ้างงานในรูปแบบไม่ตายตัวและยืดหยุ่น เช่น การจ้างเหมา Outsource, Sub-contract, Freelance หรือมีการจ้างแบบระยะสั้นเพื่อลดต้นทุนลูกจ้าง การจ้างงานแบบนี้ ทำให้ลูกจ้างมีงานที่ไม่มั่นคงเป็นอย่างยิ่ง และรายได้ไม่สม่ำเสมอส่งผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ของลูกจ้างเป็นอย่างมาก สภาพเช่นนี้เราต้องพึ่งพาให้รัฐเข้ามาจัดการแก้ปัญหา รัฐที่ดีต้องมีสวัสดิการสังคมให้กับประชาชนตั้งแต่จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน แต่ที่ผ่านมาเราจะเห็นว่ารัฐเผด็จการนายทุนนี้ ไม่ยอมช่วยเหลือประชาชนทั้งๆ ที่มีศักยภาพและทรัพยากรเพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่ พวกเขามักอ้างว่ารัฐไม่มีเงินพอที่จะดูแลประชาชน และโยนภาระให้พวกเราต้องดูแลตัวเอง พร่ำบอกว่าอย่ามามัวแต่พึ่งรัฐบาล แต่ในขณะเดียวกันรูปธรรมที่มีอยู่มันก็ขัดแย้งกันเองเพราะว่ารัฐนายทุนนี้มีการตั้งงบประมาณเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในปีงบประมาณ 2566 อยู่ที่ 8,611,669,600 บาท และตั้งงบกระทรวงกลาโหมไว้ถึง 3.185 ล้านล้านบาท ซึ่งหน่วยงานทั้งสองหน่วยงานนี้ไม่ได้เกี่ยวกับปากท้องหรือชีวิตประจำวันของประชาชนแต่อย่างใด

วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงโควิดมันเปิดเผยให้เห็นถึงธาตุแท้ของรัฐว่า รัฐนี้ไม่ได้เป็นของประชาชนตามที่พวกมันพร่ำบอก และรูปธรรมคือรัฐนี้เป็นรัฐของนายทุนเพื่อนายทุนเท่านั้น หนทางเดียวที่พวกเราจะได้ผลประโยชน์ของพวกเราคืนมาคือเราต้องต่อสู้กับนายทุนและรัฐ และชนชั้นกรรมาชีพต้องรวมตัวกันให้ได้มากที่สุดเพื่อเอาผลประโยชน์ของพวกเรากลับคืนมาจากคนส่วนน้อยของสังคม

****************************

ถ้าเห็นด้วยกับแนวทาง “องค์กรสังคมนิยมแรงงาน” เชิญสมัครสมาชิก https://forms.gle/2apcTWX7sB9YCVhU6

Advertisement

ถ้าเห็นด้วยกับแนวทาง “องค์กรสังคมนิยมแรงงาน” เชิญสมัครสมาชิก

บทความอื่น ๆ 

Create a website or blog at WordPress.com