โดย กองบรรณาธิการ
มูลค่าส่วนเกิน ในรูปแบบ “สุทธิ” กับ “เปรียบเทียบ”
- กรรมาชีพในแง่ของผู้ผลิตในระบบทุนนิยม คือ ผู้ผลิตมูลค่าส่วนเกิน
- ครูผลิตมูลค่าส่วนเกินให้เจ้าของโรงเรียนเอกชน เหมือนคนงานในโรงงานไส้กรอกผลิตมูลค่าส่วนเกิน
- การขโมยมูลค่าส่วนเกินโดยคนคนหนึ่งจากอีกคน อาศัยเงื่อนไขว่า จะต้องทำงานเป็นระบบแบบนี้ทั้งสังคม
- สิ่งก่อสร้างมหัศจรรย์ในอดีต เช่น ปิรามิดในอียิปต์ ต้องอาศัยสังคมที่การทำงานเพื่อยังชีพใช้เวลาน้อย แต่คนถูกบังคับให้ก่อสร้างในเวลา “ส่วนเกิน” ได้
- ปัญหาของนักเศรษฐศาสตร์การเมืองกระแสหลักของฝ่ายทุน อย่างเดวิด ริคาร์โด หรือจอห์น สจ๊วต มิลล์ เขากลัวไม่กล้าและไม่เคยตั้งคำถามเพื่อศึกษาเรื่อง “ต้นกำเนิดมูลค่าส่วนเกิน” คนอย่างริคาร์โดดีกว่าพวก “พาณิชย์นิยม” ที่เน้นว่า มูลค่ามาจากการแลกเปลี่ยน เพราะริคาร์โดมองว่ามูลค่ามาจากการทำงาน แต่ปัญหาของเขาคือ เขาเริ่มจากสมมุติฐานว่าทุนนิยมคือ “ธรรมชาติ” Mill ยังมองอีกว่า กรรมาชีพคือ “นายทุนชนิดหนึ่ง” เพราะ “ลงทุนแรงงาน”!!
“ในพื้นที่ราบ เนินเล็กๆ จะดูเหมือนเป็นภูเขาลูกใหญ่ พื้นที่ราบเรียบอันไร้ปัญญาของวิชาการฝ่ายทุน ทำให้นักคิดสามัญดูยิ่งใหญ่”
ความสัมพันธ์ระหว่างค่าแรงทำงานกับมูลค่าส่วนเกิน
ค่าแรงทำงาน = ปริมาณแรงงานจำเป็นที่คนงานต้องทำเพื่ออยู่รอดและผลิตซ้ำคนงานรุ่นต่อไป
ศึกษากรณีต่างๆ
- กรณีประสิทธิภาพการผลิตเพิ่ม -ถ้าวันทำงานไม่เปลี่ยนแปลง จะผลิตมูลค่าเท่าเดิม แม้ว่าประสิทธิภาพการผลิตจะพัฒนาหรือไม่ -ถ้าความเข้มข้นของการทำงานยังไม่เปลี่ยน
- เพียงแต่ปริมาณสินค้าที่ผลิตจะเพิ่มขึ้น และมูลค่าแรงงานในสินค้าจะกระจายไปในจำนวนสินค้ามากขึ้น สินค้าจึงมีราคาถูกลง
- การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มีแนวโน้มที่จะทำให้เพิ่มปริมาณมูลค่าส่วนเกินที่นายทุนเอาไป เพราะมันจะลดปริมาณแรงงานจำเป็นเพื่อเลี้ยงชีพ ฯลฯ เนื่องจากสินค้าบริโภคของคนงานถูกลงในขณะที่ไม่เพิ่มค่าแรง
- มูลค่าส่วนเกินที่นายทุนเอาไป เปลี่ยนไปในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณแรงงานจำเป็นฯ (ถ้าค่าแรงลด มูลค่าส่วนเกินเพิ่ม) แต่ในรูปธรรมเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับอำนาจต่อรองระหว่างกรรมาชีพกับนายทุนด้วย
- ถ้าเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต นายทุนสามารถเพิ่มมูลค่าส่วนเกิน และกรรมาชีพอาจเพิ่มค่าแรงได้พร้อมกัน แต่จะเป็นสัดส่วนที่ต่างกัน นายทุนมักได้เพิ่มในสัดส่วนสูงกว่าแรงงาน (ดังนั้น กรรมาชีพในประเทศพัฒนาจะมีค่าจ้างสูงกว่ากรรมาชีพในประเทศด้อยพัฒนา แต่ถูกขูดรีดมูลค่าส่วนเกินมากกว่า-กอง บก.)
- อัตรากำไรไม่เหมือนอัตรามูลค่าส่วนเกิน ริคาโดไม่เข้าใจตรงนี้ เพราะอัตรากำไรคือ กำไรหรือมูลค่าส่วนเกิน/ทุนที่ใช้ในการลงทุนทั้งหมด และ อัตรามูลค่าส่วนเกินคือ กำไรหรือมูลค่าส่วนเกิน/ทุนแปรผัน (จ้างงาน)
2. กรณีการเพิ่มความเข้มข้นของการทำงาน จะไม่ได้ลดราคาสินค้า ทั้งๆ ที่ผลิตในปริมาณมากขึ้น เพราะปริมาณแรงงานที่ใช้ในการผลิตสินค้าแต่ละชิ้นจะมากขึ้น (เพราะทำงานเข้มข้นขึ้น) และมันไม่ลดปริมาณแรงงานจำเป็นในการเลี้ยงชีพฯ อีกด้วย
- ในกรณีนี้อาจมีการเพิ่มค่าจ้างให้กรรมาชีพ แต่อาจไม่คุ้มกับ “ค่าสึกหรอ” “ค่าเครียด” ที่เกิดกับร่างกายคนงาน ซึ่งมีผลในการผลิตซ้ำคนงานในอนาคต ดังนั้น พอบวกลบคูณหารแล้วอาจเป็นการจ่ายค่าจ้างต่ำกว่าปริมาณแรงงานจำเป็นในการเลี้ยงชีพฯ
3. กรณีขยายชั่วโมงการทำงาน จะมีผลให้ผลิตมูลค่ามากขึ้น อาจเพิ่มทั้งค่าจ้างและปริมาณมูลค่าส่วนเกิน แต่ในสัดส่วนที่ต่างกัน (แล้วแต่อำนาจต่อรองระหว่างกรรมาชีพและนายทุน)
- อาจทำให้ค่าจ้างตกต่ำกว่าปริมาณแรงงานจำเป็นในการเลี้ยงชีพฯ ถ้าทำให้ร่างกายกรรมาชีพสึกหรอ
4. ถ้าลดชั่วโมงการทำงาน นายทุนจะกดค่าแรงจนต่ำกว่าปริมาณแรงงานจำเป็นในการเลี้ยงชีพฯ
หรือ นายทุนอาจเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งอันหลังเป็นกรณีส่วนใหญ่ในโลกจริง
สังคมนิยม
- ยกเลิกทุนนิยม จะทำให้ลดชั่วโมงการทำงานให้ใกล้เคียงที่สุดกับปริมาณแรงงานจำเป็นในการเลี้ยงชีพฯ และส่วนเกินที่เราผลิต จะนำมาใช้โดยสังคมร่วมกันเพื่อลงทุนต่อและพัฒนาสังคม
- เพิ่มเวลาสำหรับกิจกรรมทางสังคมและการพัฒนาปัญญาของกรรมาชีพอย่างเสรี
สูตรของอัตรามูลค่าส่วนเกิน
อัตรามูลค่าส่วนเกิน = มูลค่าส่วนเกิน / ปริมาณแรงงานจำเป็นในการเลี้ยงชีพฯ
แต่นักเศรษฐศาสตร์การเมืองฝ่ายทุนพยายามปกปิดการขูดรีดแรงงานที่เกิดในระบบทุนนิยม โดยเสนอว่าแรงงานกับทุน “ร่วมกันลงทุน” และ “ร่วมกันได้ค่าตอบแทน”
โดยเสนอสูตร อัตรามูลค่าส่วนเกิน = มูลค่าส่วนเกิน / มูลค่าสินค้า
ทำให้มองไม่เห็นว่า แรงงานฟรีของกรรมาชีพที่ถูกขโมยไปอยู่ภายใต้การควบคุมของนายทุน
*************************
ถ้าเห็นด้วยกับแนวทาง “องค์กรสังคมนิยมแรงงาน” เชิญสมัครสมาชิก https://forms.gle/2apcTWX7sB9YCVhU6