แปลและเรียบเรียงโดย คิริฮาระ
การขุดใช้ก๊าซฟอสซิลสำรองที่ยังไม่เคยใช้จะเป็นทางออกสำหรับปัญหาการขาดแคลนพลังงานในแอฟริกาหรือไม่? และจะทำให้ผู้คนหลุดพ้นจากความยากจนไหม? นี่เป็นคำถามที่ผู้นำบางประเทศกำลังถกเถียงกันเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการประชุม COP27 ปลายปีนี้
ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ประธานาธิบดีของประเทศเซเนกัล Macky Sall กล่าวว่า “เราไม่ยอมรับประเทศที่ก่อมลพิษ ซึ่งต้องรับผิดชอบต่อสถานการณ์โลกปัจจุบัน มาบอกเราไม่ให้จัดหางบประมาณซื้อเชื้อเพลิงฟอสซิลแล้ว” และยังกล่าวอีกว่า “ประเทศของเราไม่สามารถเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานที่ไม่ก่อมลพิษอย่างประเทศอุตสาหกรรมได้ โดยที่เราไม่มีทางเลือกที่ปฏิบัติได้จริง เป็นธรรมและเท่าเทียม”
สำหรับ Sall และผู้นำของแอฟริกาที่เพิ่มขึ้นมองว่า การเพิ่มการใช้ก๊าซธรรมชาติถูกมองเป็นเรื่องที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของแอฟริกา รองประธานาธิบดีของประเทศไนจีเรีย Yemi Osinbajo ออกมากล่าวภายหลังว่า “เราคิดว่าก๊าซในฐานะเชื้อเพลิงที่จะนำมาทดแทนนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่ใช่แค่เรื่องประสิทธิภาพเท่านั้น แต่เป็นเรื่องเศรษฐกิจของเราด้วย”
กระแสการเรียกร้องให้ใช้ก๊าซสูงขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากการประชุม COP26 ที่ผ่านมา เมื่อรัฐต่างๆ 20 รัฐและสถาบันต่างๆ ร่วมกันให้สัตยาบันว่าจะหยุดให้เงินทุนสำหรับโครงการทั้งหมดที่ยังใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่
ธนาคารโลกยังสัญญาด้วยว่า จะไม่ให้เงินทุนสนับสนุนโครงการพลังงานจากน้ำมันและก๊าซต่างๆ หลังปี 2019 ซึ่งทำให้ผู้นำประเทศต่างๆ ในแอฟริกาโกรธและกังวลด้วย พวกเขาบอกอีกว่า ถ้าประเทศในแอฟริกาจะสามารถพัฒนาได้เหมือนประเทศในตะวันตก ก็ต้องใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเท่านั้น
ประเทศที่ร่ำรวยในตะวันตกมีความเจริญมั่งคั่งมากขึ้นหลังจากล่าอาณานิคมในแอฟริกาและกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลโดยไร้การควบคุมใดๆ มันคงจะเป็นความรู้สึกของการเสแสร้งหลอกลวงโดยแท้จริงที่ประเทศเหล่านี้มาชี้นิ้วใส่ประเทศที่ยากจนกว่าที่ต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของตัวเอง
แต่การเผาก๊าซมากขึ้นก็ไม่ใช่คำตอบ โดยเฉพาะ 9 ใน 10 ของประเทศที่เป็นภัยต่อวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศถูกพบในแอฟริกา การอธิบายว่า ก๊าซเป็นสิ่งที่ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้นั้นมีผลกระทบที่อันตรายอยู่ อย่างแรกคือก๊าซธรรมชาติไม่ใช่พลังงานทางเลือกที่สะอาดกว่า ก๊าซคือหนึ่งในวิธีการผลิตพลังงานที่มีคาร์บอนเข้มข้นที่สุด และในกระบวนการการจัดเก็บและเผาก๊าซนั้น ก๊าซมีเทนจำนวนมากจะถูกปล่อยไปสู่ชั้นบรรยากาศ ทำให้มันยิ่งอันตรายกว่าคาร์บอนไดออกไซด์เสียอีก
ประชาชนจำนวนมากในแอฟริกาพึ่งพาการเผาฟืนในบ้านตัวเองที่ทำให้สุขภาพย่ำแย่ แต่วิธีแก้ปัญหาคือ ไม่ควรเปลี่ยนแหล่งพลังงานสกปรกแหล่งหนึ่งด้วยแหล่งพลังงานสกปรกน้อยกว่าเล็กน้อย
การใช้ก๊าซมากขึ้นก็มีข้อเสียอีกประการหนึ่ง โครงการขุดก๊าซใหม่มักล่าช้าและแทนที่การใช้พลังงานหมุนเวียน นี่คงเป็นเรื่องน่าเศร้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีโอกาสมากมายที่จะใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและราคาถูกกว่าในแอฟริกาที่หลายประเทศทำอยู่แล้ว อย่างในเคนยา 75% ของกระแสไฟฟ้าของประเทศนั้นผลิตจากพลังน้ำ ลม พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานความร้อนใต้พิภพ และ 22 ประเทศในแอฟริกาใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าหลักอยู่แล้ว ตามรายงานของมูลนิธิ Mo Ibrahim ถึงแม้จะมีโอกาส ผู้นำแอฟริกาก็ยังผลักดันให้ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมากขึ้น ทั้งนี้ไม่ใช่แค่เรื่องการจัดหาพลังงานให้แก่ประชาชนมากขึ้น แต่ความต้องการก๊าซเพิ่มขึ้นนี้มาจากความขัดแย้งในยูเครน ที่ประเทศในยุโรปไม่ต้องการซื้อจากรัสเซียอีกต่อไป ผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจึงทำให้คนเพียงไม่กี่คนมั่งคั่ง แต่ด้วยก๊าซส่วนใหญ่ถูกส่งออกมาจากแอฟริกา ไม่มีหลักประกันใดๆ ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนทั่วไป ฉะนั้น แม้ผู้นำโลกจะพูดอย่างไร การเปลี่ยนผ่านไปใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างยุติธรรมโดยไม่ทำให้คนยากจนที่สุดเดือดร้อนเป็นเรื่องจำเป็น
ที่มา Sophie Squire. (13 มิ.ย.65). Exploiting gas reserves is not the solution to develop Africa. ในเว็บไซต์พรรคแรงงานสังคมนิยมอังกฤษ
******************************
ถ้าเห็นด้วยกับแนวทาง “องค์กรสังคมนิยมแรงงาน” เชิญสมัครสมาชิก https://forms.gle/2apcTWX7sB9YCVhU6