โดย สหายนาย
เหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นเหตุการณ์ที่มีพื้นหลังเป็นการชุมนุมขนาดใหญ่ของกลุ่มนักศึกษาที่ลุกขึ้นมาต่อสู้กับรัฐเผด็จการของ ถนอม กิตติขจร ซึ่งจริงๆ แล้วในเหตุการณ์นั้นไม่ได้มีแค่นักศึกษาที่ร่วมต่อสู้เพียงอย่างเดียว แต่ยังมี ขบวนการกรรมาชีพ และ ชาวนาในการขับเคลื่อนด้วย ไม่ว่าจะเป็นการประท้วง นัดหยุดงาน หรือแม้แต่กองกำลังติดอาวุธในป่าอย่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก็มีบทบาทสำคัญด้วย
ในด้านของรัฐไทย มีการสร้างอุดมการณ์ “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” เพื่อหาความชอบธรรมในการกดขี่ พร้อมทั้งสร้างม็อบฟาสซิสต์อย่าง “นวพล” “กระทิงแดง” และ “ลูกเสือชาวบ้าน” โดยได้รับการสนับสนุนด้านวัตถุและกำลังใจจากรัฐ จากชาวบ้านที่มีฐานะระดับกลาง ข้าราชการชั้นสูง และนักธุรกิจระดับกลางอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับการวิเคราะห์ของมาร์กซิสต์อย่าง เลออน ทร็อตสกี้ คือ ฟาสซิสต์จะมีฐานสนับสนุนจากชนชั้นกลางหรือนายทุนน้อยที่ถูกกดดันระหว่างนายทุนใหญ่และขบวนการแรงงาน กำลังหลักจะประกอบไปด้วย พวกอันธพาล คนตกงาน ที่ไม่พอใจต่อระบบ แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดตั้งสหภาพแรงงาน และพลังอำนาจจริง ๆ มาจากการสนับสนุนของรัฐทุนนิยม ในขณะเดียวกันรัฐก็ไม่ไว้ใจกลุ่มอันธพาลเหล่านี้ แต่จำเป็นในการปราบปรามการปฏิวัติ “เสมือนคนที่ปวดฟันไปหาหมอฟัน” หลังจากการปฏิบัติภารกิจสำเร็จ ก็มีการยุบหรือปล่อยไปตามธรรมชาติ
การจัดตั้งกลุ่มอันธพาลเหล่านี้ นำมาสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 มีการเข่นฆ่านักศึกษากันอย่างป่าเถื่อน ทำให้นักศึกษาต้องทำงานใต้ดินและหนีเข้าป่าตามพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย แต่การนำของพรรคฯ มีความผิดพลาด เนื่องจากเดินตามแนว “ชนบทล้อมเมือง” และเป้าหมาย “ประชาชาติประชาธิปไตย” ตามเหมา เจ๋อ ตง ซึ่งบดบังการต่อสู้ทางชนชั้น ทั้ง ๆ ที่ พคท. มีนักจัดตั้งในเมือง และยังมีการนัดหยุดงานของกรรมาชีพก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลา ไม่กี่เดือนจากปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่กลับหันไปเน้นการจับอาวุธ แทนที่จะใช้พลังของกรรมาชีพในเมือง ซึ่งการกระทำเช่นนี้ของ พคท. เป็นการตั้งพรรคปฏิวัติที่ห่างเหินกับมวลชนมากเกินไป
การต่อสู้และใช้อาวุธเป็นเรื่องปกติของการปฏิวัติ เพราะการจะสร้างสังคมใหม่ เราจำเป็นต้องบทขยี้กลไกรัฐของสังคมเดิมทิ้งเสียก่อน เพราะชนชั้นปกครองเดิมได้ถือครอง กองทัพ กองกำลังปราบปราม ศาล และกฎหมาย ในการกดขี่ประชาชนอย่างชนชั้นกรรมาชีพอยู่แล้ว แต่ไม่ได้แปลว่าพรรคปฏิวัติจะต้องทำตัวลับๆ ล่อๆ ในมุมมืดของป่าอย่างเดียวโดยทิ้งมวลชนกรรมาชีพ ที่กำลังถูกอำนาจรัฐย่ำยี
ในการปฏิวัติรัสเซียปี 1917 กำลังสำคัญของพรรคบอลเชวิคไม่ได้มีเพียงแค่กองทัพแดงเท่านั้น แต่เป็นคนงานในโรงงานที่สร้างสภาคนงาน (สภาโซเวียต) ที่โครงสร้างการบริหารภายในเป็นประชาธิปไตย และกรรมาชีพในสภาโซเวียตร่วมกันต่อต้านอำนาจของรัฐพระเจ้าซาร์อย่างดุเดือดจนบอลเชวิคยึดอำนาจรัฐได้ ในขณะเดียวกันที่ พคท. ใช้กลยุทธ์แบบพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ไปเน้นกองกำลังติดอาวุธมากเกินไป จนกระทั่งยึดอำนาจรัฐจากพรรคก๊กมินตั๊งได้ ในตอนนั้นกรรมาชีพในจีนประท้วงนัดหยุดงาน แต่สุดท้ายก็ถูกพรรคคอมมิวนิสต์จีนปราบ นั่นคือตัวอย่างหนึ่งที่การกระทำเช่นนี้ของ พคท. ที่ห่างเหินกับขบวนการมวลชนมากเกินไปสุดท้ายความสัมพันธ์ระหว่างพรรคปฏิวัติกับมวลชนหรือแม้แต่กรรมาชีพเองจะลงลอยกันไม่ได้
*****************************
ถ้าเห็นด้วยกับแนวทาง “องค์กรสังคมนิยมแรงงาน” เชิญสมัครสมาชิก https://forms.gle/2apcTWX7sB9YCVhU6