โดย แพรพลอย
การฆาตกรรมมาห์ซา อามินิ หญิงสาวชาวอิหร่านวัย 22 ปีอย่างทารุณโดย “ตำรวจศีลธรรม” เนื่องจากแต่งกายไม่เหมาะสม กลายเป็นชนวนที่ทำให้ผู้หญิงอีกหลายคนในอิหร่านต่างลุกขึ้นมาตัดผม และเผาผ้าคลุมผมประท้วงตั้งแต่วันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา ฝ่ายผู้ชุมนุมมีการเรียกร้องให้ยกลิกกฎหมายฮิญาบ ยุติความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งโค่นล้มรัฐบาล
การลุกฮือครั้งนี้ไม่ได้เป็นเพียงแต่การแสดงความไม่พอใจของผู้หญิง แต่ยังเหตุการณ์ที่ความไม่พอใจที่สั่งสมมานานนับตั้งแต่การขึ้นมามีอำนาจของรัฐบาลศาสนาที่นำโดยนายอายะตุลลอฮ์ โคมัยนีผู้นำสูงสุดทางศาสนาของอิหร่านในปี 1979 ภายหลังการปฏิวัติโค่นล่มรัฐบาลเผด็จการของพระเจ้าชาห์แห่งอิหร่านที่ได้รับการสนับสนุนจากอเมริกาโดยชนชั้นแรงงานที่นำโดยสหภาพคนงานในอุตสาหกรรมน้ำมันระเบิดออกมา และเปลี่ยนอิหร่านให้เป็นรัฐศาสนาจนถึงทุกวันนี้
ถึงกระนั้นชนชั้นแรงงานและฝ่ายซ้ายของอิหร่านก็เดินหน้าต่อสู้กับชนชั้นปกครองอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางการไล่ฆ่าฝ่ายซ้ายของรัฐบาล ความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นยังนำไปสู่การก่อตั้งองค์กรมาร์กซิสต์ใหม่ในอิหร่านหลายองค์กรโดยขบวนการนักศึกษาและแรงงาน เช่น กลุ่มคณะกรรมการปฏิบัติการแรงงานหรือ LOAC
นับตั้งแต่ต้นปี 2022 บรรยากาศทางการเมืองของอิหร่านขับเคลื่อนไปด้วยการประท้วงหยุดงานอย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วยวิกฤตเงินเฟ้อที่แตะ 41.5% เมื่อเดือนมิถุนายน ราคาอาหารในอิหร่านเพิ่มขึ้นสูงถึง 90.2% ประกอบกับปัญหาขาดแคลนน้ำในประเทศเนื่องจากประสบกับภัยแล้งที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปีในปี 2021 ซ้ำเติมที่เดิมอิหร่านก็ประสบกับปัญหาขาดแคลนน้ำดื่มอยู่แล้ว
การลุกฮือในครั้งนี้เริ่มต้นด้วยชนชั้นแรงงานในเขตเคอร์ดิสถาน เนื่องด้วยมาห์ซา อามินิผู้เสียชีวิตมีพื้นเพเดิมเป็นชาวเคิร์ดซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจากเมืองซักเกซที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนชั้นแรงงาน ต่อมามีการแผ่ขยายไปยังเมืองและชนชั้นอื่น เช่น มีการต่อต้านการสวมฮิญาบในเมืองทางตอนเหนือของกรุงเตหะรานจากกลุ่มคนที่มีฐานะค่อนข้างดี ซึ่งการแผ่ขยายวงกว้างของการประท้วงในครั้งนี้เป็นสัญญาณที่แสดงว่าผู้ชุมนุมก้าวข้ามปัญหาความขัดแย้งทางชาติพันธุ์
การนัดหยุดงานเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปลายสัปดาห์แรกที่มีการประท้วง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตเคอร์ดิสถาน และเมืองอื่น ๆ ที่มีพรมแดนติดกับทะเลแคสเปียน ประชาชนหันไปใช้การแจกใบปลิวซึ่งเป็นวิธีการระดมพลแบบเก่า นอกจากนี้สมรรชาคนงานน้ำมันยังออกแถลงการณ์ข่มขู่รัฐบาลว่าจะเลิกนัดหยุดงานก็ต่อเมื่อรัฐบาลเลิกสังหารประชาชน ซึ่งสร้างความแรงกดดันให้แก่รัฐบาลได้ค่อนข้างมากเนื่องจากน้ำมันเป็นสินค้าส่งออกหลักของอิหร่านนับตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 20
ไม่ใช่แค่กรรมาชีพเท่านั้นที่ร่วมประท้วง ทั้งครูและนักเรียนก็ร่วมประท้วงด้วย ในเดือนธันวาคมปี 2021 กลุ่มครูในกรุงเตหะรานได้มีการรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ขึ้นค่าแรง รัฐบาลตอบโต้การลุกฮือครั้งนั้นด้วยการไล่จับผู้ประท้วงอย่างป่าเถื่อน แต่ความรุนแรงในวันนั้นก็ไม่อาจยับยั้งการลุกขึ้นสู้ของครูได้ ในวันนี้ครูกลุ่มนั้นยังได้ร่วมต่อสู้กับนักเรียนและนักศึกษา ซึ่งสหภาพแรงงานครูมีส่วนร่วมในการระดมพล มีการนัดหยุดเรียนและหยุดงานในมหาวิทยาลัย 15 แห่งทั่วอิหร่าน อาจารย์มหาวิทยาลัยหลายแห่งต่างตบเท้ากันลาออกเพื่อแสดงจุดยืนทางการเมือง นอกจากนี้การประท้วงยังขยายไปถึงกลุ่มเด็กนักเรียนมัธยมที่มีการนัดหยุดเรียนเพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกการบังคับคลุมฮิญาบในโรงเรียนและมีการสนับสนุนให้นักเรียนชายมีส่วนร่วมกับการประท้วงเพื่อช่วยเหลือเพื่อนร่วมชั้น
ทางด้านฝ่ายซ้ายในอิหร่านต่างก็มีข้อเรียกร้องเป็นของตัวเอง ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องที่ร่างมาตั้งแต่ปี 1976-1979 แต่ไม่เคยได้รับการตอบสนอง ข้อเรียกร้องของฝ่ายซ้ายเน้นหนักไปที่สิทธิของแรงงาน ขณะเดียวกันก็มีข้อเรียกร้องเรื่องการเข้าถึงการศึกษา กำจัดความเหลื่อมล้ำ การกระจายความมั่งคั่ง ความเสมอภาคระหว่างชนกลุ่มน้อย และข้อเรียกร้องทางด้านสิ่งแวดล้อม แต่ยังไม่มีการพูดถึงการใช้แรงงานเด็กมากนัก ตามการรายงานในปี 2020 อิหร่านมีแรงงานเด็กมากถึง 10 ล้านคน ซึ่ง 7 จาก 10 ล้านคนนั้นต้องทำงานในตำแหน่งอันตราย
นอกจากนี้การที่รัฐบาลทรัมป์ตัดสินใจคว่ำบาตรอิหร่านอย่างเต็มรูปแบบ ส่งผลให้รัฐบาลเผด็จการอิหร่านตัดสินใจใช้มาตรการรัดเข็มขัดเพื่อให้ชนชั้นแรงงานเป็นผู้ชดใช้ในวิกฤตที่ไม่ได้ก่อนี้ ราคาข้าวสาลีและยาในอิหร่านพุ่งสูงจากการที่รัฐบาลตัดเงินอุดหนุน จนทำให้เกิดจลาจลในเขตคูเซตสถานเนื่องจากราคาขนมปังพุ่งสูงถึง 13 เท่า
นอกจากรัฐบาลอิหร่านจะตอบโต้การลุกฮือของประชาชนครั้งนี้ด้วยกระสุนแล้ว ยังเริ่มยิงโดรนและยิงขีปนาวุธโจมตีชาวเคิร์ดในอิรักพร้อมกับกล่าวหาว่าเป็นต้นตอของการประท้วงในอิหร่าน
การลุกฮือของอิหร่านนับตั้งแต่ในสมัยของพระเจ้าชาห์ไม่ได้มีขึ้นเพียงแค่เพื่อต่อต้านโค่นล้มเผด็จการในประเทศ แต่ยังเป็นการต่อต้านประเทศมหาอำนาจจักรวรรดินิยมที่ได้ประโยชน์จากการขึ้นมามีอำนาจของเผด็จการเหล่านี้ ประเทศจักรวรรดินิยมที่ประณามการฆาตกรรมมาห์ซา อามินิอย่างอเมริกาและฝรั่งเศส เป็นประเทศเดียวกันที่มีตำรวจสังหารผู้หญิงอย่างทารุณกรรม มีการออกกฎหมายตัดสิทธิผู้หญิงในการทำแท้ง และนำเรื่องการแบนการสวมฮิญาบในที่สาธารณะสำหรับเด็กผู้หญิงที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีเข้าดีเบตในสภา
ชนชั้นแรงงานและฝ่ายซ้ายเป็นกองกำลังสำคัญในการต่อต้านชนชั้นปกครองของอิหร่านและประเทศมหาอำนาจจักรวรรดินิยม ดังเช่นในการประท้วงต่อต้านการสวมฮิญาบในวันสตรีสากลปี 1979 ที่ผู้ที่มีบทบาทหลักในการระดมพลครั้งนั้นคือผู้หญิงอิหร่านในลัทธิมาร์กซ์ ฝ่ายซ้ายทั่วโลกควรการลุกฮือตามการลุกฮือของผู้หญิง กรรมาชีพ และเยาวชนชาวอิหร่าน เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับเหตุการณ์การฆาตกรรมจอร์จ ฟรอยด์ เพราะปัญหาหลายอย่างที่เรากำลังเผชิญในตอนนี้เป็นปัญหาคล้ายคลึงกันที่ต้องแก้ไขไม่ใช่เพียงแค่ในระดับในประเทศ แต่ต้องมีการร่วมมือกันในระดับสากล
ภาพจาก https://www.pbs.org/…/iranian-protests-continue-sparked…
****************************
ถ้าเห็นด้วยกับแนวทาง “องค์กรสังคมนิยมแรงงาน” เชิญสมัครสมาชิก https://forms.gle/2apcTWX7sB9YCVhU6