โดย วัฒนะ วรรณ
ปี 1968 ถือว่าเป็นจุดสูงสุดของการต่อสู้ ขบวนการกรรมาชีพ ชาวนา รวมถึงสิทธิเสรีภาพด้านต่างๆ เช่น ขบวนการคนผิวดำ ขบวนการเพศ ขบวนการกู้ชาติ ที่ดำเนินมาตลอดทศวรรษที่ 60 เป็นผลจากการขยายตัวของเศรษฐกิจทุนนิยมในตะวันตกและอเมริกา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (1939-1945) การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยาวนานพอสมควร ได้สร้างความมั่นคงและมั่นใจให้กับชนชั้นกรรมาชีพโดยเฉพาะคนหนุ่มสาว ด้านหนึ่ง แต่อีกด้านหนึ่ง สังคมที่คับแคบอนุรักษ์นิยมในยุคนั้นก็เป็นอุปสรรคในการขยายสิทธิเสรีภาพด้านต่างๆ ด้วย กอรปการเริ่มเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในระบบทุนนิยมครั้งใหม่จากอัตราผลกำไรที่ลดลง ช่วงกลางทศวรรษที่ 70 การผลิตอุตสาหกรรมลดลง การจ้างงานลดลง เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจสหรัฐถดถอย
เกิดอะไรขึ้นบ้างในยุคนั้น…
การต่อสู้ในประเทศโลกที่สาม เช่นสงครามเวียดนามสร้างกำลังใจให้คนตัวเล็กที่สามารถเอาชนะจักรวรรดิใหญ่ได้ ลาติน อาเจนตินา บราซิล ซีลี เศรษฐกิจเติบโต กรรมาชีพเพิ่ม แต่ความร่ำรวยไปกระจุกตัวกับคนส่วนน้อยข้างบน สร้างไม่พอใจกับชนชั้นกรรมาชีพ แอฟริกา คิวบา เวียดนาม ขบวนการกู้ชาติขยายตัว ส่วนใหญ่นำโดยฝ่ายซ้าย
ประเทศเผด็จการที่อ้างเป็นคอมมิวนิสต์ แต่ที่จริงเป็นทุนนิยมโดยรัฐ ยุโรปตะวันออกมีการกบฎ ในจีน คนหนุ่มสาวไม่พอใจการคอรัปชั่นของข้าราชการพรรคคอมมิวนิสน์ แต่ถูก เหมาเจอตุง ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อชิงอำนาจทางการเมืองในพรรคผ่านเหตุการณ์ที่เรียกว่า “ปฏิวัติวัฒนธรรม” แต่ทั้งหมดก็ถูกปราบด้วยความรุนแรง
ฝรั่งเศส มีการนัดหยุดงานครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ คนออกมา 9 ล้านคน เริ่มจากนักศึกษาประท้วงไม่พอใจสภาพการเรียน ห้องเรียน ตำรวจฝรั่งเศสใช้วิธีปราบรุนแรง จนสุดท้ายสหภาพแรงงานเรียกร้องนัดหยุดงานทั่วประเทศ
พรรคคอมมิวนิสต์แนวสตาลิน มีอิทธิพลในขบวนการฝ่ายซ้ายทั่วโลก มีอิทธิพลต่อพรรคคอมมิวนิสต์ทุกพรรค หลังปี 1928 หลายพรรคพัฒนาไปสู่แนวเหมา ลัทธิสตาลิน เกิดจากการปฏิวัติซ้อนโดยข้าราชการแดง จากความล้มเหลวในการปฏิวัติรัสเซีย 1917 ที่นำโดย เลนิน ทร๊อทกี ที่ไม่สามารถขยายการปฏิวัติไปสู่ประเทศที่ระบบทุนนิยมพัฒนามากกว่าได้ ท่ามกลางซากปรักหักพังของอุตสาหกรรมที่เกิดจากสงครามกลางเมือง ความอดอยาก ได้ทำลายกรรมาชีพล้มหายไปจำนวนเกือบครึ่งหนึ่ง แทนที่ด้วยข้าราชการแดง “เลนิน เคยบอกว่า ถ้าไม่มีการปฏิวัติในเยอรมัน การปฏิวัติของเรจะล้มเหลว”
ความพ่ายแพ้ของแนวสังคมนิยมปฏิวัติ ในประเทศที่พอมีประชาธิปไตยอยู่บ้าง ชนชั้นปกครองตะวันตก ใช้สถาบันต่างๆ ใน “ประชาสังคม” ลดความขัดแย้งปกป้องระบบ เช่น ใช้พรรคคอมมิวนิสต์สายสตาลิน พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย(สายปฏิรูป) เพื่อควบคุมและสลายการต่อสู้ของขบวนการกรรมาชีพ ในประเทศที่ประชาธิปไตยไม่มั่นคงไม่มีหลุมเพาะของประชาสังคม ไว้ปกป้องชนชั้นปกครอง จะใช้วิธีการปราบปรามรุนแรง เช่น ใน ชิลี เม็กซิโก อาร์เจนตินา ไทย ขบวนการคนผิวดำและขบวนการสิทธิสตรีซีกขวาชนชั้นกลางถูกซื้อ เพื่อสลายพลังของกลุ่มเหล่านี้ เข่นในสหรัฐอเมริกา
หลังความพ่ายแพ้นักวิชาการกระแสหลักต่างสรุปว่า การเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมนิยมหมดยุค การต่อสู้ชนชั้นหมดความสำคัญ การเมืองแบบใหม่เน้นการต่อสู้แบบ “อัตลักษณ์” ไม่เน้นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมือง สังคม ไม่สนใจประเด็น “ชนชั้น” เรียกร้องแค่ “พื้นที่-ประชาสังคม” เพื่อสร้างสังคมที่อยู่ร่วมกันระหว่างชนชั้นต่างๆ การเมืองในยุคประชาชนยอมจำนนต่อเสรีนิยม เป็นการเมืองที่กระจัดกระจายปฏิเสธการวิเคราะห์องค์รวม เชื่อมโยงประเด็นปัญหาต่างๆ “ปฏิเสธองค์กร” และบ่อยครั้งปฏิเสธการเมือง
มันเป็นยุคของการเมืองแนว “ประชาสังคมและขบวนการทางสังคมแบบใหม่” ปฏิเสธชนชั้นเน้นการเคลื่อนไหว “ประเด็นเดียว” หลังความเสื่อมศรัทธา” ในความคิดมาร์คซิสต์ในทศวรรษที่ 80 แนวการเคลื่อนไหวทางสังคม “แบบใหม่” เป็นแนวที่มีความสำคัญมากจนกลายเป็นกระแสหลักทางวิชาการในหมู่อดีตฝ่ายซ้าย นักวิชาการ และนักกิจกรรม NGO ที่พยายามต่อสู้เพื่อพัฒนาประชาธิปไตยและความเป็นธรรมในสังคม
ถ้าเห็นด้วยกับแนวทาง “องค์กรสังคมนิยมแรงงาน” เชิญสมัครสมาชิก https://forms.gle/2apcTWX7sB9YCVhU6