Design a site like this with WordPress.com
เริ่มได้

สร้างรัฐสวัสดิการ ต้องใช้พลังของชนชั้นแรงงาน

โดย สหายเข็มแดง

ในช่วงเวลาการต่อสู้ของขบวนการประชาธิปไตยในไทยปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการแพร่หลายของแนวคิดรัฐสวัสดิการนั้นเป็นที่แพร่หลายมาก มีการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นทางการเมืองอย่างการตั้งคําถามกับสถาบันทางสังคมว่าประชาชนในฐานะพลเมืองของประเทศที่เรียกตัวเองว่าประเทศประชาธิปไตยควรให้สิทธิเสรีภาพในการวิจารณ์หรือไม่ หรือแม้แต่การตั้งคําถามกับการจัดสรรทรัพยากรของประเทศไทยที่ติดอันดับประเทศที่มีความเหลื่อมลํ้าสูง รัฐควรจะจัดสรรทรัพยากรที่เป็นพื้นฐานทางชีวิตให้แก่ประชาชนทถกคนในประเทศหรือไม่ พรรคการเมืองหลายพรรคเริ่มมีข้อเสนอเรื่องของการออกแบบโครงสร้างรัฐสวัสดิการถ้ามกลางกระแสของการเรียกร้องนี้ แต่คําถามสําคัญคือการได้มาซึ่งรัฐสวัสดิการนั้นแท้จริงแล้วอะไรเป็นเงื่อนไขที่สําคัญ

ในช่วงศตวรรษที่ 19 ในยุโรปเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหญ่ขึ้นที่จะเปลี่ยนวิถีการผลิตของมนุษย์โดยสิ้นเชิง ชาวนาในชนบทส่วนใหญ่ที่เคยจับเคียวในพื้นที่นาชนบทนอกเมืองต้องถูกกวาดต้อนให้จับค้อนและฟันเฟืองเครื่องกลในเมืองใหญ่ที่แปลกตาในสายตาพวกเขาเป็นอย่างมาก ความปรารถนาของชนชั้นนําในยุคนั้นคือการสร้างตลาดแรงงานขนาดใหญ่เพื่อต้อนแรงงานเหล่านั้นให้ไปอยู่ในโรงงานในการสร้างอุตสหกรรมขนาดใหญ่ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางตลาดแข่งขันที่มาจากการเกิดขึ้นของแนวคิดเสรีนิยมนั้น นายจ้างหรือนายทุนแต่ละโรงงานอุตสาหกรรมต้องบังคับให้คนงานสร้างผลผลิตให้ได้มากที่สุดซึ่งในขณะเดียวกันมันทําให้การกดขี่แรงงานอย่างทารุณ การทํางานแต่ละวันของคนงานตลอด 16 ชั่วโมงคือการทํางานด้วยสภาวะตึงเครียดกับการทํางานในโรงงานที่สิ่งที่ตนเองผลิตนั้นตนเองไม่มีสิทธิที่จะได้ครอบครองด้วยซํ้า โรงงานขนาดใหญ่ในเมืองหลวงที่ศิวิไลซ์ในยุคนั้นจึงเป็นเพียงแค่ภาพสะท้อนของสรวงสวรรค์ของชนชั้นนายทุนที่ก่อร่างสร้างตัวจากนรกของชนชั้นผู้ใช้แรงงาน

ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ระบบทุนนิยมเริ่มย่างเข้าสู่สภาวะอิ่มตัวในการขยายกําลังแรงงานในระบบอุตสาหกรรม พร้อมกับเศรษฐกิจในประเทศอาณานิคมเริ่มเข้าสู่วิกฤตอย่างเห็นได้ชัด เช่นการลดลงของอัตรากําไรอย่างมหาศาลจากการขยายกําลังในการผลิตและการแข่งขันเสรีในตลาดทุนนิยม ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเพื่อรักษาอัตรากําไรเห็นได้ชัดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่เกิดการหดตัวของเศรษฐกิจอย่างขนานใหญ่ ทําให้เกิดการเรียกร้องของชนชั้นผู้ใช้แรงงานอย่างแพร่หลาย พร้อมกับการเกิดขึ้นของขบวนการแรงงาน สหภาพแรงงาน หรือ พรรคแรงงาน เป็นจํานวนมาก ทําให้การต่อสู้ทางชนชั้นถูกประสานการต่อสู้ในเรื่องของเศรษฐกิจและการเมืองเข้ากันได้อย่างเป็นรูปธรรม

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 อุดมการณ์แบบประชาธิปไตยแพร่หลายขึ้นในประเทศตะวันตก การเลือกตั้งกลายเป็นสิ่งสามัญที่ไม่ว่าคนรวย หรือคนจน มีสิทธิ์ในการใช้เสียงของตนเองในการกําหนดทิศทางทางการเมืองมากขึ้น บวกกับการเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายของพรรคแรงงานและขบวนการแรงงานที่เกิดจากการรวมตัวเรียกร้องสิทธิในทางการเมืองและเศรษฐกิจของตัวเอง ทําให้จุดยืนทางการเมืองของชนชั้นกรรมาชีพมีความแหลมคมมากขึ้นไปตามๆกัน ในการล้มล้างรัฐบาลในยุโรปตะวันตกช่วงต้นศตวรรษที่ 20 นั้นจึงกลายเป็นภาพสะท้อนของการตื่นรู้ในสิทธิทางการเมืองและเศรษฐกิจของประชาชนที่เริ่มเห็นปัญหาของระบบทุนนิยมเต็มทีและรัฐบาลพวกนั้นไม่ได้ให้สิ่งที่พวกเขาต้องการเลย

พรรคการเมืองของชนชั้นแรงงานจึงเป็นฟันเฟืองสําคัญในการต่อสู้ทางชนชั้น เพื่อให้ชนชั้นแรงงานได้รับสิทธิที่ตนควรจะได้รับในฐานะผู้ที่สร้างผลิตผลทั้งหมดของประเทศหรือแม้แต่ของโลก การรวมตัวกันของขบวนการแรงงานเพื่อสร้างพรรคของชนชั้นแรงงานจึงเป็นสิ่งที่สําคัญในการต่อสู้ ซึ่งการต่อสู้ในปัจจุบันของไทยเรื่องการตื่นรู้ในสิทธิทางการเมืองและเศรษฐกิจของประชาชนถือว่าเป็นก้าวสําคัญในการจัดตั้งพรรคการเมืองที่มาจากแรงงานอย่างมาก ซึ่งการทํางานของพรรคแรงงานนั้นจะไม่สามารถปฏิเสธการต่อสู้ทางชนชั้นได้เลย ไม่ว่าจะเป็นการประท้วงเพื่อสิทธิของแรงงานหรือการนัดหยุดงาน คือการดําเนินงานสําคัญที่พรรคแรงงานนั้น เพื่อผลักดันมวลชนให้ร่วมกันลุกขึ้นต่อสู้กับระบบทุนนิยมและได้มาซึ่งสิทธิทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ ที่พวกเราสมควรจะได้รับ


ถ้าเห็นด้วยกับแนวทาง “องค์กรสังคมนิยมแรงงาน” เชิญสมัครสมาชิก https://forms.gle/2apcTWX7sB9YCVhU6

Advertisement

ถ้าเห็นด้วยกับแนวทาง “องค์กรสังคมนิยมแรงงาน” เชิญสมัครสมาชิก

บทความอื่น ๆ 

Create a website or blog at WordPress.com