Design a site like this with WordPress.com
เริ่มได้

หลุมพรางของนายทุนกับการดิ้นรนของกรรมาชีพ

โดย หม่อมถนัดซ้าย

ในสังคมการทำงานที่ต้องดิ้นรนและแข่งขันกันเพื่อให้มีชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต โดยไม่มีอะไรการันตีได้เลยว่าชีวิตในวันข้างหน้าจะเป็นเช่นไร เราทำงานเพียงได้เงินเลี้ยงชีพจุนเจือครอบครัวเท่านั้น

แต่! ถ้าคุณอยากมีอยากได้ อยากจะอัพเกรดตัวเองด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ก็ต้องกู้ยืมในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะใช้ช่องทางบัตรเครดิตหรือสินเชื่อต่างๆ ซึ่งสิ่งเหลานี้มันจำเป็นในยุคปัจจุบัน บางคนลูกเยอะมีภาระแบกหลังมา ทั้งผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หรือแม้แต่ผ่อนโน๊ตบุ๊คที่ใช้ทำงาน

สิ่งหล่านี้ก็เป็นตัวเลือกที่ช่วยได้ แต่หารู้ไม่ว่ามันคือหลุมพรางของนายทุน และระบบที่มันเฮงซวย

กระนั้น กรรมาชีพอย่างเราก็ต้องทำงานต่อไปเรื่อยๆ ด้วยมีแรงขับเคลื่อนคือหนี้สินต่างๆ จึงทำงานวนลูปไป ไม่มีอิสระในการตัดสินใจอะไรเลย ซึ่งถ้าจัดการบริหารการเงินไม่ดี จากที่สำรวจมาส่วนมากจะย่ำแย่ พ่อและแม่ยังต้องออกไปทำงานช่วยกันหาเงินทำงานหนัก ส่วนลูกๆ ก็ขาดคนดูแล และส่วนมากก็จะเกิดเป็นปัญหาสังคมในอนาคต

บางคนย่างเข้าวัยเกษียณแต่ยังต้องทำงานเพราะมีภาระหนี้สินที่สร้างมาซึ่งมันเป็นกับดักของนายทุน ไร้ซึ่งอิสรภาพทางการเงิน ไร้อิสรภาพในการตัดสินใจ ความเป็นมนุษย์ และอีกหลายอย่างจนเลยวัยเกษียรก็ยังไม่สามารถเก็บออมเพียงพอ

เพราะต้นทุนชีวิตของคนสั่งสมมาไม่เท่ากัน ความเหลื่อมล้ำสูง คนทำงานก็ทำงานไป ตกหลุมพรางหนี้สินนายทุน โดยที่ ‘รู้ทั้งรู้”

ผมเคยได้ยินพวกนักการเงินนักบริหารแนะนำว่า ให้ตรวจสอบการเงินว่า เราไม่ได้ใช้จ่ายเกิน 50% ของรายได้ หรือไม่เกิน 70% และอย่ากู้เงินเพื่อสนองความต้องการรายวัน/ค่าใช้จ่ายประจำ เช่น ค่าเช่า ค่าเล่าเรียน การเดินทาง ฯลฯ หรือหากไปกู้ยืมเงินมาโดยคาดว่าจะสามารถจ่ายคืนจากรายได้ในอนาคต ก็อาจประสบปัญหาได้เพราะอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนจึงเป็นความเสี่ยง ฉะนั้น การหาวิธีเพิ่มรายได้และแหล่งที่มาของรายได้ในขณะที่รักษารายจ่ายให้คงที่จะทำให้มีเงินออมมากขึ้นซึ่งจะทำให้หนี้สินลดลง ซึ่งทำได้โดยการเพิ่มจำนวนสมาชิกที่ทำงานในครอบครัว หรือทำงานล่วงเวลา เป็นต้น

คำแนะนำข้างต้น ผมมองว่าไม่สามารถช่วยอะไรได้ เมื่อเราลำบาก ตกงานหรือรายได้หดในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ แล้วไปกู้หนี้ยืมสินมา ก็ยิ่งเป็นปัญหา หากทำงานโอทีมากขึ้นๆ ใครจะดูแลลูก สุขภาพเราจะเป็นอย่างไร และหากค่าครองชีพ ค่าเช่าบ้าน ค่าเทอมลูกสูงกว่ารายได้จะตามทันล่ะ จะทำอย่างไร ทำไมไม่แนะนำให้เราออกไปเรียกร้องนายจ้างให้เพิ่มเงินเดือน เพิ่มสวัสดิการ ให้รัฐสร้างงานมากขึ้น ลดค่าครองชีพ ควบคุมราคาสินค้า หรือแทรกแซงกิจการนายจ้างไม่ให้ปลดเราออกจากงาน ผมเดาได้เลยว่า พวกนักการเงินการธนาคารหรือนักบริหารคงไม่มีไอเดียนี้อยู่ในหัว ท้ายสุดคนเหล่านั้นก็จะมองว่า เราเองคือผู้สร้างกับดักหนี้ ถ้าไม่โทษเราที่ไม่สามารถจัดการบริหารแล้วจะโทษใคร ซึ่งผมว่าไม่ยุติธรรม

ผมจึงอยากเห็นรัฐสวัสดิการสำหรับชนชั้นกรรมาชีพ โดยที่กรรมาชีพทำงานได้อย่างมีความสุข มีสวัสดิการที่ครอบครัวไม่ต้องแบกภาระมากนัก และอยากให้กรรมาชีพทำงานโดยมีแรงผลักดันอื่นนอกจากหนี้สิน

หลายคนคิดว่ากรรมาชีพแย่ ถ้าท้องไม่หิวก็คงไม่ออกมาร่วมปฎิวัติ ‘ซึ่งมันเป็นเรื่องจริง’ แต่ก็ยังมีกลุ่มคนกรรมาชีพที่ลุกขึ้นมาปฎิวัติสังคมอย่างจริงจัง รวมถึงตัวผม

สุดท้ายนี้ ผมอยากให้พี่น้องกรรมมาชีพคนทำงาน ออกมารวมพลังปฎิวัติสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะกรรมมาชีพคือคนขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมที่แท้จริง ถ้าคุณทนไม่ไหวกับเผด็จการ เราคือสหายกัน


ถ้าเห็นด้วยกับแนวทาง “องค์กรสังคมนิยมแรงงาน” เชิญสมัครสมาชิก https://forms.gle/2apcTWX7sB9YCVhU6

Advertisement
บทความอื่น ๆ 

Create a website or blog at WordPress.com