Design a site like this with WordPress.com
เริ่มได้

การศึกษาแบบท่องจำต่างจากวิทยาศาสตร์อย่างไร

โดย สหายเข็มแดง

ในช่วงศตวรรษที่ 19 การขยายอาณาเขตของปรัสเซียสร้างความแตกตื่นกับประเทศรอบๆ ข้างมากอย่าง ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม อิตาลี รวมถึงรัสเซีย เหตุผลก็เพราะก่อนหน้านี้พื้นที่ส่วนนั้นก่อนที่จะรวมเป็นจักรวรรดิเยอรมันเป็นเมืองเล็กยิบย่อยจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ออตโต้ ฟอน บิสมาร์ค แม่ทัพของจักรวรรดิเยอรมันต้องการให้คนในปรัสเซียมีความรักชาติ เพื่อที่จะได้ใช้พวกเขาในการขยายอาณาเขตอย่างไม่มีการตั้งคําถามถึงความถูกต้องของการกระทําเหล่านั้น บิสมาร์คจึงสังเกตพฤติกรรมของมนุษย์และพบว่า เด็กช่วงวัย 5 ขวบถึง 12 ขวบจะมีพัฒนาการเรียนรู้ที่สุด สิ่งที่บิสมาร์คทําคือสั่งให้ก่อตั้งโรงเรียนอนุบาล หรือที่ภาษาเยอรมันเรียก Kindergarten คําๆ นี้ประกอบด้วยศัพท์ 2 คําคือ Kinder แปลว่าเด็ก garten แปลว่าสวน ถ้าแปลรวมกันจะแปลออกมาได้ว่า สวนของเด็ก และในระดับประถมจะใช้คําว่า schule ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคําว่า schulung ซึ่งมีความหมายว่า ทําให้เชื่อง โรงเรียนในยุคนั้นจึงเน้นสอนเรื่องความสําคัญของชาติและผู้นํา เพื่อสร้างเครื่องจักรสังหารที่จะใช้ความรุนแรงได้ทุกเมื่อหากทําเพื่อสิ่งที่เรียกว่า ชาติ อันเป็นนามธรรม

ในเสรีนิยมยุคใหม่ รัฐไม่ได้ต้องการคนไปเป็นแค่ทหารอีกต่อไปแล้ว เพราะระบบเสรีนิยมคือระบบแข่งขันที่พยายามหาผู้ประกอบการและแรงงานเข้าไปในระบบ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทําไมการเรียนการสอนส่วนใหญ่ที่รัฐให้ความสนใจมักจะอยู่ที่การศึกษาเพื่อเป็นผู้ประกอบการมากกว่าการเป็นศิลปินหรือการเต้นรําเพื่อความฝัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ มันทําให้โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยต้องมีการแข่งขันสูงเพื่อที่จะนําคนในระบบมาแข่งกันเอง ใครท่องสิ่งที่ครูเคยสอนไว้ได้มากที่สุดคือผู้ที่ประสบความสําเร็จ ไม่ต่างจากการหาเนื้อคุณภาพดีที่คนในระบบอาจจะไม่ได้อยากเป็น

แม้ว่าการกดขี่ในระบบการศึกษาจะไม่ได้เป็นแบบในยุคจักรวรรดิปรัสเซียที่ต้องการคนไปเป็นแค่ทหาร แต่ถ้าเราลองหาเค้าโครงที่ยังคงเหลืออยู่จากยุคนั้นดู เราจะพบว่า มันยังเป็นการกดขี่รูปแบบเดิมๆ ตรงที่ในห้องเรียนจะมีแค่ ผู้ฟัง ผู้สอน คนที่ตั้งคําถามจะได้แค่คําตอบที่เป็นข้ออ้างไม่ให้ตั้งคําถามอะไรแปลกๆ อีก เพราะสุดท้ายคนที่ตั้งคําถามก็ต้องสอบในข้อสอบเดิมอยู่ดี

หลุยส์ อัลธูแซร์ นักมาร์กซิสต์ชาวฝรั่งเศสได้ศึกษาเรื่องกลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ เขากล่าวว่า การคิดหาคําตอบของอํานาจรัฐคืออุดมการณ์แบบเป็นเส้นตรงไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ตรงที่ว่าสองสิ่งนี้มันมีความแตกต่างกันอยู่มาก การคิดแบบเส้นตรงคือการสร้างคําตอบไว้เหนือหัวอยู่แล้ว แต่เพียงแค่ค้นคว้า วิจัย เพื่อเอาทฤษฎีมาเป็นข้ออ้างในการสร้างความชอบธรรม เช่นการที่นักเรียนนักศึกษาต้องถูกสอนเรื่อง ความสําคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ นี่คือสิ่งที่เรียกว่าอุดมการณ์แบบเส้นตรง เพราะการเรียนสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของการสร้างอุดมการณ์ปกป้องสิ่งที่รัฐชาติต้องการให้นับถือเท่านั้น มันต่างจากการเรียนการสอนแบบวิทยาศาสตร์

การเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ คือ การศึกษาที่ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายหรือไม่ได้มีจุดสูงสุดในการสร้างความชอบธรรมในการสอนแน่ชัด มันคือการเรียนรู้ที่ทั้งผู้เรียนและผู้สอนต่างก็สามารถเป็นได้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนในเวลาเดียวกัน ครูอาจจะเสนอเรื่องมาให้เด็กนักเรียนมานั่งแลกเปลี่ยนกันและหาคําตอบร่วมกัน และในขณะเดียวกัน ครูก็จะเป็นผู้ร่วมแลกเปลี่ยนกับเด็กนักเรียนด้วย ซึ่งการค้นคว้าแบบวิทยาศาสตร์แบบนี้แตกต่างจากแบบอุดมการณ์เส้นตรง ตรงที่มันไม่ได้มีข้อสอบหรือคําตอบที่ครูสามารถเอาเนื้อหามาถามโดยไม่จําเป็นต้องสอนก่อนก็ได้ แต่เป็นการค้นคว้าเพื่อหาคําตอบจากสิ่งที่เรียนจริงๆ

ในการศึกษายุคใหม่ที่ต้องการผู้ประกอบการหรือแรงงานฝีมือเข้าสู่ระบบ ทําให้สุดท้ายเป้าหมายของการศึกษาเป็นเพียงแค่การหาคนที่ท่องจําจากที่เรียนเพื่อไปเป็นผู้ประกอบการหรือพนักงานระดับสูงเพียงอย่างเดียว เรายังคงเห็นค่านิยมเรื่องเป้าหมายเพื่อการเป็นเจ้าคนนายคน ทั้งๆที่ความฝันของพวกเขาไม่ได้อยากจะเป็นคนเหล่านั้นด้วยซํ้า

ถึงเวลาแล้วที่วงจรอุบาทว์ที่เน่าเฟะของระบบการศึกษาจะต้องถูกทําลายไป ขบวนการนักศึกษาควรต้องร่วมมือกับกรรมาชีพโดยเฉพาะครูหัวก้าวหน้ามาเข้าร่วมในการปฏิรูประบบการศึกษาที่เปิดกว้างและไม่ต้องแข่งขันกัน รัฐต้องสนับสนุนการศึกษาทุกระดับในทุกพื้นที่เสมอภาคกันเพื่อรองรับนักเรียนนักศึกษาเข้าไปเรียนรู้โดยที่พวกเขาไม่ต้องกังวลที่ต้องสอบแข่งขันกับใคร และการสอนจะต้องเป็นการแลกเปลี่ยนกันเพื่อหาคําตอบทั้งครูและนักเรียน ไม่ใช่แค่ให้ครูเป็นแค่ผู้ที่เขียนข้อสอบและไปให้เด็กท่องสอบเพียงอย่างเดียว เพื่อให้การศึกษาที่ดีและเป็นการศึกษาจริงๆ เป็นสิ่งที่รองรับนักเรียนนักศึกษาทุกคนที่มีความฝันที่แตกต่างกันได้เข้ามาเรียนเพื่อความฝันของพวกเขา


ถ้าเห็นด้วยกับแนวทาง “องค์กรสังคมนิยมแรงงาน” เชิญสมัครสมาชิก https://forms.gle/2apcTWX7sB9YCVhU6

Advertisement

ถ้าเห็นด้วยกับแนวทาง “องค์กรสังคมนิยมแรงงาน” เชิญสมัครสมาชิก

บทความอื่น ๆ 

Create a website or blog at WordPress.com